Canonical Tag
ทุกคนสงสัยกันไหมว่า ถ้าเกิดเราสร้างหน้าเว็บที่คล้ายกันกับอีกหลายเว็บแล้วมี URL ที่ต่างกันไม่มากอีก หรือในกรณีที่เรามี URL ที่เข้าถึงหน้าเว็บเดียวได้หลายรายการ Google จะทำยังไง?
แน่นอนว่ามันต้องมีวิธีให้คนทำ SEO อย่างเรารู้ว่าควรทำยังไงแล้วต้องระวังเรื่องอะไรบ้าง อย่างแรกคือเราต้องมารู้จักกับคำว่า Canonical ที่แปลว่า “เป็นที่ยอมรับ” แล้ว Canonical Tag นั้นจะหมายถึงอะไร ไปดูกันเลย ค่าา ~
Canonical Tag คืออะไร
Canonical Tag หรือ Canonical URL คือ URL ที่เราสร้างขึ้นเพื่อบอก Google ว่าหากต้องการเก็บ URL ไปเนี่ย อันนี้คืออันหลักนะ แต่ Google จะเชื่อเรามั้ย นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่งนะ เมี้ยว
AMPROSEO ต้องบอกก่อนเลยว่า เรื่องของ Canonical เริ่มมีเข้ามาในปี 2009 มันเป็นแท็กที่จะอยู่ใน HTML หน้าตาของ Canonical Tag ก็เป็นแบบนี้
link rel=“canonical” href=“https://example.com/sample-page/” /
หากแยกเป็นส่วนจะได้ว่า
- link rel=“canonical” นับเป็นแท็ก เหมือนเป็น # ที่ใส่ข้างหน้าคำที่เราอยาก Tag
- href=“https://example.com/sample-page/” / ส่วนนี้เป็น Canonical URL ก็คือ URL หลักที่เราอยากให้เป็น
ดังนั้น ถึงแม้ว่าจะมี URL มากมายที่สามารถเข้ามายังหน้าเว็บหน้าหนึ่งนี้แต่ URL หลักที่เราต้องการให้ Google มองเห็นและเก็บข้อมูล คือหน้าใน Canonical Tag นี้เอง เพราะแบบนี้คนทำ SEO หลายคนจึงต้องเรียนรู้เงื่อนไขการทำให้ URL ที่เลือกมาใส่ใน Canonical Tag นั้นกลายเป็น Canonical URL ที่ Google จะเลือกใช้ เพราะนอกจากการแข่งขันกันใน URL ใกล้เคียงแล้ว Canonical URL สามารถถูกคัดจากโดเมนอื่นได้เช่นกัน และที่สำคัญเรื่องนี้ยังส่งผลต่ออันดับของ SEO ด้วยนะเจ้าคะ ~
ทำไมต้องใช้ Canonical Tag
เวลาที่ทำเว็บไซต์ต่างๆ มานานอาจเลี่ยงไม่ได้ที่เกิดหน้าที่มีเนื้อหาคล้ายกัน ตัว URL มีชื่อใกล้เคียงกัน ทำให้เวลาที่ Google ต้องการตัวเลือกที่ดีที่สุดในการค้นหาเพื่อแสดงผลลัพธ์ที่ตรงใจกับ User มากที่สุดต้องทำการคัดเลือกออกมา
ซึ่งหน้าที่ถูกเลือกจะถือเป็น Canonical URL จาก Google แต่อย่างที่บอกว่ามันอาจไม่ใช่หน้า เดียวกับที่เราต้องการให้เป็นหน้าหลัก ดังนั้น Canonical Tag ก็จะเป็นวิธีหนึ่งที่เราจะใช้บอก Google ที่สำรวจข้อมูลไปนำเสนอว่า เฮ้! หน้าหลักอยู่นี่นะเมี้ยว ใช้หน้านี้
นอกจากนี้ การติด Canonical Tag ยังเป็นการดันให้หน้า URL นั้น ถูกนำไปจัดอันดับของ SEO ด้วย
ความสำคัญของ Canonical Tag ต่อการทำ SEO
อย่างที่ได้บอกไปว่าการทำ Canonical Tag นั้นมีความสำคัญต่อการทำ SEO ไม่น้อย เรามาดูกันให้ชัดๆ ดีกว่าว่า Canonical Tag จะส่งผลต่อ SEO อย่างไรบ้าง
ช่วยคุณนำเสนอ URL ที่ดีที่สุด
อย่างที่รู้กันว่าเราสามารถกำหนด Canonical Tag ขึ้นมาเองได้เพื่อให้ Google รู้ว่าหน้าไหนเป็นหน้าหลักของเรา ดังนั้นการทำ Canonical Tag จึงเป็นการนำเสนอ URL ที่คุณคิดว่าครบถ้วน มีคุณภาพและดีที่สุดสำหรับ User ซึ่งหากตอบโจทย์ครบทุกด้านก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะไต่ขึ้นสู่อันดับหนึ่งในหน้าแรกของ Google
ป้องกันการเลือกหน้าผิด
สำหรับข้อนี้จะเป็นเรื่องของการ Duplicate Content หรือเป็นกรณีที่เรามีหน้าเพจที่เป็นเรื่องใกล้เคียงกันอยู่หลายหน้า ทำให้เวลา Google ส่งบอทเข้ามาตามหาข้อมูลก็จะได้ข้อมูลที่คล้ายกันเยอะแยะเต็มไปหมด เลือกไม่ถูกเลยว่าอันไหนหลัก อันไหนรอง จึงต้องสร้าง Canonical Tag ขึ้นมาเพื่อให้โอกาสกับเราได้บอกว่าอันไหนเป็นหน้าหลักที่จะเอาไปไต่อันดับกันแน่
รวบรวมข้อมูลเพื่อเพิ่มอันดับ
Google มีการรวบรวมข้อมูลที่ครบถ้วนอย่างมากทีเดียว แต่ด้วยความที่มันครบถ้วนเกินไปนี่แหละทำให้เวลาเก็บข้อมูลก็มักจะสับสนเองแล้วยังทำให้หน้าที่เราตั้งใจว่าจะให้เป็นหน้าหลักถูกเข้าใจผิด ยิ่งกับเว็บใหญ่ๆ ที่มีข้อมูลมากๆ ต้องให้ Crawl Budget เข้ามาช่วยรวบรวมเลือกดู URL ที่ใช่ที่สุด
แต่ระบบจะเลือกได้ตรงเท่าเราไหม ก็ต้องตอบว่า ไม่
ดังนั้นการทำ Canonical Tag จึงช่วยลดต้นทุนการรวบรวมข้อมูล ประหยัดเวลาและทำให้ Google สามารถหาตัวเลือกที่ดีที่สุดมาได้ เพราะมันจะรวบรวมข้อมูลสำหรับหน้าที่มีการทำ Canonical Tag ก่อนเสมอ ขณะเดียวกันก็จะนำเอาหน้าที่มีเนื้อหาคล้ายกันมาไว้ใน URL เดียวทำให้ไต่อันดับได้ดีขึ้นด้วยนะ เมี้ยว~
วิธีทำ Canonical Tag แบบเข้าใจง่าย
วิธีการทำ Canonical Tag นั้นสามารถทำได้โดยการวาง Canonical Tag พร้อม URL ในส่วน head…./head ของ HTML ได้เลย ตัวอย่างเช่น
ถึงอย่างนั้นวิธีการนี้อาจไม่ได้สะดวกสำหรับใครหลายคน ซึ่งในการทำ Canonical Tag นั้นสามารถใช้ตัวช่วยเข้ามาทำให้ง่ายขึ้นได้โดยการใช้ปลั๊กอินเข้ามาเป็นตัวกลาง
รวมปลั๊กอินที่ใช้ทำ Canonical Tag
มาดูกันว่าเราสามารถใช้ปลั๊กอินอะไรบ้าง มาช่วยในการใส่ Canonical Tag
- Magentoสำหรับปลั๊กอินนี้จะมีด้วยกัน 2 เวอร์ชัน สามารถใส่ Canonical Tag ได้ทั้งคู่ เป็นปลั๊กอินที่สร้างขึ้นเพื่อให้นักพัฒนาระบบสามารถทำงานได้สะดวก ใส่ลูกเล่นให้เว็บได้อย่างสนุกสนาน โดยการใส่ Canonical Tag จะอยู่ในส่วนของ Search Engine Optimizations สามารถปรับค่าได้ตามต้องการ
- Yoastเป็นตัวช่วยปลั๊กอินใน WordPress ที่มีเครื่องมือช่วยเหลือด้าน SEO อยู่ไม่น้อย โดยการใส่ Canonical Tag ของที่นี่นั้นสามารถเข้าไปที่ส่วน Advanced แล้วไปที่ช่อง Canonical URL เพื่อระบุ URL ที่ต้องการได้เลย
-
- RankMathอีกหนึ่งปลั๊กอินสำหรับ WordPress ที่ช่วยเรื่องการทำ SEO เช่นกัน โดยการใส่ Canonical Tag ของปลั๊กอินตัวนี้นับว่าง่ายมากทีเดียว นั่นคือไปที่ Advanced ด้านล่างจะเห็นช่อง Canonical URL ก็สามารถระบุ URL ลงไปได้เลย
- Wixเป็นปลั๊กอินที่ให้สร้างเว็บไซต์และมีเครื่องมือช่วยเหลือด้าน SEO เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหา แน่นอนว่าหนึ่งในนั้นย่อมต้องมีการใส่ Canonical Tag ด้วยเช่นกัน โดยสามารถใส่ได้ที่ SEO Option ไปยัง Advanced SEO มองหาช่อง Custom Meta Tags เพื่อกด +Add New Tag แล้วใส่ Canonical URL ลงไปเป็นโค้ดเต็ม แบบนี้
link rel=“canonical” href=“https://example.com/sample-page/” /
ควรใช้งาน Canonical Tag ตอนไหนบ้าง
Canonical Tag เป็นสิ่งที่เหมาะจะใช้งานในเวลาที่เราต้องเรียงลำดับความสำคัญของหน้าเพจว่าอันไหนสำคัญที่สุด และยังเป็นการแก้ปัญหากรณีที่ทุกอย่างมันซ้ำซ้อนกันไปหมด เช่น
กรณีที่มี URL สำหรับหน้าเว็บเดียวอยู่เยอะเกินไป
บางครั้งทางเข้าหน้าเว็บก็มีทางลัดโผล่มาด้วยเช่น มี www กับไม่มี www อยู่ด้านหน้าก็นับเป็น 2 URL แล้ว ทำให้ในหนึ่งหน้าเว็บมี URL อยู่มากมาย Cancel แต่เวล Cancel าจัดอันดับ Google จะจับเพียงอันเดียวดังนั้น หากมีหน้าเว็บเพจไหนที่ต้องการให้ติดอันดับค้นหาหรือต้องการยกเป็นหน้าหลักก็ควรทำ Canonical Tag ไว้
กรณีที่มีเนื้อหาคล้ายกันมากเกินไป
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเนื้อหาคล้ายคลึงหรือเนื้อหาซ้ำซ้อนย่อมมีปัญหาในการโฟกัสสู่หน้าหลัก โดยเฉพาะกับเว็บไซต์ E-commerce ที่สินค้าหลายอย่างใกล้เคียงกัน ทำให้ Google เลือกยาก การทำ Canonical Tag จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้
ข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้ Canonical Tag
แม้ว่า Canonical Tag จะมีข้อดีอยู่มากเพราะช่วยให้หน้าเพจถูกจัดหมวดหมู่ให้ Google จับได้ง่ายมากขึ้น แต่ถึงอย่างนั้น Canonical Tag ก็มีกฎการใส่ซึ่งถือเป็นข้อควรระวังอยู่ นั่นคือ
- ต้องใส่รายละเอียด URL แบบชี้เฉพาะอย่างชัดเจน
การสร้าง Canonical URL นั้นจะต้องเฉพาะจงเจาะถึงหน้าที่ต้องการจะชี้ชัด เช่น ไปหน้า 3 ก็ควรชี้ไปที่หน้า 3 เลย ที่สำคัญไม่ควรใส่ในหน้าเทมเพลตหลักของเว็บไซต์ไม่อย่างนั้นจะทำให้ทุกหน้าของเว็บมี Canonical Tag อันเดียวกันทั้งหมด ยิ่งไปกว่านั้นการเลือก URL ในส่วนของ Canonical Tag นั้นยังควรใช้ URL แบบเต็มหรือ Absolute URL ด้วย
- ควรใส่ Canonical Tag แค่ครั้งเดียวและใส่ที่ส่วน head เท่านั้นการใส่ Canonical Tag เรียกว่าแค่ครั้งเดียวก็ครบถ้วนแล้ว เพราะการใส่ซ้ำซ้อนอาจทำให้ Google เข้าใจผิดว่ามันไม่มีหน้าไหนสำคัญให้จับหรือว่าง่ายๆ ก็คือมองไม่เห็นนั่นเอง และยังมีอีกสาเหตุที่จะทำให้หา Canonical Tag ไม่เจอได้เหมือนกันคือการใส่ผิดที่ เพราะ Canonical Tag จะต้องใส่ที่ส่วน head…./head เท่านั้น
สรุปความสำคัญของ Canonical Tag
การสร้าง Canonical Tag เพื่อกำหนด Canonical URL นั้นเป็นเหมือนการช่วย Google จัดเรียงหมวดหมู่เนื้อหาในเว็บได้ชัดเจนมากขึ้น เมื่อมี User เข้ามาค้นหาก็จะช่วยให้การคัดเลือกหยิบยกเว็บเพจที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องมาใส่ได้เร็วมากขึ้น เสมือนเราใส่แฮชแท็กเพื่อดูเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกันนั่นเอง นอกจากนี้การทำ Canonical Tag ยังช่วยให้คนทำ SEO ไม่ต้องปวดหัวกับการดันหน้าเว็บเพจหน้าใดหน้าหนึ่งอีกแล้ว เพราะสามารถชี้เฉพาะได้เลยว่าหน้าใดเป็นหน้าหลักกันแน่ ค่อนข้างสะดวกทีเดียวนะค่าา ~