Site Structure
การทำ SEO ไม่ใช่แค่ทำบทความ SEO หรือยิง Backlink เข้ามาแล้วจะทำอันดับดีๆ ได้ แต่คุณต้องวางรากฐานของเว็บไซต์ให้ดีด้วย! และนี่แหละคือที่มาของบทความ ‘Site Structure’ หรือโครงสร้างของเว็บไซต์ที่ AMPROSEO จะพูดถึงในวันนี้ เพราะนี่คืออีกหนึ่งวิธีการที่ช่วยทำให้ Google ตกหลุมรักขึ้นไม่ไหว และยกให้เว็บไซต์ของคุณขึ้นสู่อันดับต้นๆ ตามที่ต้องการได้ง่ายมากขึ้น มาดูกันดีกว่าว่า Site Structure คืออะไร การทำโครงสร้างเว็บไซต์ปกติมีกันกี่ประเภท และจะเริ่มต้นวางอย่างไรถึงจะดีกับการทำ SEO ตาม AMPROSEO ไปดูพร้อมๆ กันเลยดีกว่านะฮิปปป~
Site Structure คืออะไร
โครงสร้างเว็บไซต์ หรือ Site Structure คือ การออกแบบข้อมูลต่างๆ บนเว็บไซต์ รวมถึงส่วนประกอบต่างๆ บนเว็บให้เชื่อมโยงถึงกัน พร้อมกับบอก Google Bot ได้ว่าเว็บไซต์นี้มีทั้งหมดกี่หน้า แต่ละหน้าพูดเกี่ยวกับเรื่องอะไร และเชื่อมโยงถึงกันหรือไม่ หากเว็บไซต์มีการออกแบบ Site Structure ทุกอย่างก็จะสัมพันธ์กัน และง่ายต่อการใช้งานทั้งจากฝั่ง User และ Google Bot ที่ควรจะเข้าถึงหน้าต่างๆ ที่อนุญาตให้เข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว ไม่ซับซ้อน ไม่เกิดการตกสำรวจ เพื่อสร้าง User Experience ที่ดีในการใช้งาน แน่นอนว่า เมื่อมีคนใช้ซ้ำๆ Google ก็จะเห็นว่าเป็นเว็บที่น่าเชื่อถือ และยิ่งเมื่อเข้ามาเก็บข้อมูลเพื่อ Index ได้ง่าย เว็บของคุณก็มีโอกาสที่จะทำอันดับได้ดีตามไปด้วยนั่นเอง
Site Structure สำคัญอย่างไรบ้าง
ไม่ใช่แค่ออกแบบเว็บไซต์ให้ดูสวยงาม แต่ Site Structure คือ การออกแบบไปถึงโครงสร้างของเว็บไซต์ให้เป็นระเบียบ เรื่องนี้จึงมีความสำคัญต่อการทำ SEO อย่างมาก และนี่คือเหตุผลหลักๆ ที่คุณต้องใส่ใจการออกแบบ Site Structure ให้ดีพอสำหรับการใช้งาน
-
เป็นมิตรต่อการทำ SEO
ถ้าอยากเป็นที่ 1 ในใจใครสักคนคุณก็ต้องทำตัวเองให้ออกมาดูดี เข้าถึงง่าย และทำในสิ่งที่เขาคนนั้นชอบ การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ก็เช่นกัน ถ้าจะทำให้ Google ชอบ ก็ต้องทำให้เป็นมิตรกับการทำ SEO ให้ได้มากที่สุด เพราะปกติแล้ว Google Bot หรือ Web Crawler ซึ่งเป็นเครื่องมือของ Google ที่ใช้ในการเข้ามาเก็บข้อมูลของเว็บไซต์ แล้วนำไปประมวลผลเพื่อจัดอันดับของเว็บไซต์แต่ละเว็บจะเข้ามาเก็บข้อมูลในแต่ละช่วงเวลา ดังนั้น หากคุณอยากพิชิตใจ Google ก็ต้องออกแบบ Site Structure ให้ดี เพื่อให้ Google Bot เข้าใจเนื้อหาในเว็บได้มากขึ้น และเก็บข้อมูลได้เร็วขึ้นจากการที่โครงสร้างเว็บไซต์ทำหน้าที่เหมือนไกด์นำทาง ข้อมูลที่เก็บได้ก็จะไม่เกิดการตกหล่น สุดท้ายก็มีแนวโน้มจะได้อันดับที่ดีบน SERP ตามมาด้วยอย่างแน่นอน
-
ดีต่อ User Experience
ทุกวันนี้เว็บไซต์ควรให้ความสำคัญกับ Customer Centric ให้มากๆ ไม่เว้นแม้กระทั่งการออกแบบโครงสร้างของเว็บไซต์ที่ควรจะออกแบบมาให้สร้างประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานด้วย เช่น ทำให้เว็บไซต์หาอะไรก็เจอได้ง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อนในการคลิกค้นหาข้อมูล ทำให้ทุกคนอยากจะกลับมาใช้เว็บไซต์ซ้ำ ฯลฯ เพราะนอกจาก Google จะชอบเว็บไซต์ที่ Friendly และมีแนวโน้มที่จะจัดอันดับเว็บไซต์เหล่านี้ขึ้นไปอยู่ในอันดับต้นๆ แล้ว อีกผลลัพธ์หนึ่งที่จะได้เลยก็คือการเกิด Conversion ตามที่แบรนด์ต้องการมากขึ้นอีกด้วย
-
ช่วยในการจัดเรียงข้อมูล
การวาง Site Structure ที่ดีเป็นเหมือนกับการทำสารบัญให้กับเว็บไซต์ เมื่อเว็บไซต์มีหมวดหมู่และโครงสร้างของเนื้อหาที่ชัดเจนและเชื่อมโยงกันก็จะช่วยทำให้ดีต่อการเรียกใช้ข้อมูลได้สะดวก แถมในการย้ายเว็บไซต์ หรือขยายเว็บไซต์ก็จะทำได้ง่าย เพราะเรารู้แล้วว่าอะไรอยู่ตรงไหน และควรเพิ่มเติมเฉพาะส่วนไหนบ้าง แน่นอนว่าช่วยลด Cost ในการจัดการเรื่องเหล่านี้ไปไปได้เยอะเลยทีเดียว
ประเภทของโครงสร้างเว็บไซต์ (Site Structure)
จริงๆ แล้วโครงสร้างเว็บไซต์ (Site Structure) มีอยู่ด้วยกันหลายประเภทเลย ไม่ว่าจะเป็น…
Linear site structure (sequential)
Linear site structure (sequential) จะเป็นรูปแบบของการวางโครงสร้างเว็บไซต์ตามลำดับ โดยจะเริ่มต้นที่หน้า Home แล้วลิงก์ต่อไปหน้าถัดไป มักใช้กับเว็บไซต์ที่มีขนาดเล็กประมาณ 5-10 หน้า ไม่เหมาะกับการใช้ในเว็บไซต์ที่มีหลายร้อยหน้า สำหรับรูปแบบเว็บไซต์ที่เหมาะจะวาง Site Structure ประเภทนี้ เช่น เว็บสำหรับลงทะเบียนที่ต้องทำตามทีละขั้นตอน, การเรียนเนื้อหาที่ต้องเรียนเป็นบทๆ เป็นต้น
ข้อดี
- ใช้กับเว็บไซต์ขนาดเล็กได้
- ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงหน้าเว็บไซต์ได้ทุกหน้าจากการเรียงลำดับหน้าก่อนหลัง
ข้อจำกัด
- ไม่เหมาะสำหรับ Search Engine
- ทุกหน้าจะมีลิงก์เข้ามาเพียงลิงก์เดียว
- ไม่สามารถกำหนดความสำคัญของเพจได้
- ต้องคลิกเนื้อหาเรียงไปเรื่อยๆ ตามลำดับเท่านั้น
Chaotic site structure (web)
Chaotic site structure (web) เป็นโครงสร้างเว็บไซต์ที่จัดรูปแบบตามอนุกรมวิธานต่างๆ เช่น ผู้แต่ง หมวดหมู่ แท็ก ประเภทเนื้อหา วันที่ เดือน ปี อักษรตัวแรกของชื่อ เป็นต้น บทความบนเว็บไซต์จึงสามารถอยู่ได้หลายหมวดหมู่ และไม่มีลำดับชั้นที่ชัดเจน
ข้อดี
- ไม่จำเป็นต้องมานั่งจัดเนื้อหาให้วุ่นวาย
- สามารถสร้างได้อัตโนมัติโดยไม่ต้องใช้ความพยายามใดๆ
ข้อจำกัด
- ค้นหาบทความที่เกี่ยวข้องเจอได้ยาก
- มีลิงก์ไปยังหน้าต่างๆ มากเกินไปอาจไม่เกี่ยวข้องกับทุกหน้า ทำให้ส่งผลเสียต่อ SEO ของเว็บไซต์
- ไม่ดีต่อการทำ SEO เพราะเว็บไซต์ไม่สามารถจัดการหรือควบคุมจำนวนการคลิกเพื่อเข้าถึงหน้าต่างๆ ได้
- เพราะโครงสร้างที่วุ่นวาย ทำให้ไม่เห็นภาพจำนวนลิงก์ที่เข้ามาชัดเจน
Flat site structure
Flat site structure เป็นโครงสร้างเว็บไซต์ที่ทุกหน้าเชื่อมโยงจากหน้าแรก และทุกหน้ามีระยะห่างจากหน้าแรกเท่ากัน มีประโยชน์สำหรับไซต์ขนาดเล็ก
ข้อดี
- สามารถใช้กับเว็บไซต์ขนาดเล็กที่มีไม่กี่หน้าได้ ตัวอย่างเช่น อาจเป็นไมโครไซต์เล็กๆ ที่ทุกหน้าอยู่ใกล้กับหน้าแรก (สามารถเข้าถึงได้ด้วยคลิกเดียวจากหน้าแรก)
ข้อจำกัด
- การไม่มีลำดับชั้นในการกำหนดหน้าที่สำคัญนั้นไม่ดีต่อ SEO
- ไม่เหมาะกับเว็บไซต์ที่มีขนาดใหญ่
- หน้าแรกจะมีลิงก์มาจากทุกหน้า หน้าอื่นๆ จะมีลิงก์มาจากหน้าแรกเพียงหน้าเดียวเท่านั้น จึงไม่ใช่การทำ Internal Link ที่ดี
Pyramid site structure (hierarchical, tree, silo, hub)
Pyramid site structure (hierarchical, tree, silo, hub) คือ โครงสร้างเว็บไซต์ที่ทุกคนนิยมใช้กัน เพราะเป็น Site Structure ที่เหมาะสำหรับเว็บไซต์ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ การจัดการหน้าต่างๆ ก็ทำได้ง่าย เพราะมีการแบ่งเป็นหมวดหมู่ ไล่ลำดับความสำคัญของหน้าจากบนลงล่าง ในด้านการเข้ามาเก็บข้อมูลของ Google Bot เองก็ทำได้ง่าย เพราะเห็นถึงความเชื่อมโยงของหน้าแต่ละหน้าชัดเจน
ข้อดี
- สามารถใช้กับเว็บไซต์ขนาดเล็กและเว็บไซต์ขนาดใหญ่ ทั้งเว็บบล็อกไปจนถึงเว็บ E-Commerce
- ทำการเชื่อมโยงหน้าต่างๆ ได้ง่าย โดยคลิกไม่เกิน 3 คลิกก็ไปถึงหน้าที่ต้องการแล้ว ทำให้ดีต่อการทำ SEO และดีต่อคนใช้งาน
ข้อจำกัด
- ต้องวางแผนการทำโครงสร้างเว็บไซต์อย่างละเอียด
- หน้าไหนที่ไม่มีหน้าเพจย่อยอาจจะต้องจัดการหน้าเหล่านั้นด้วย
หน้าตาของ Site Structure ที่ดีควรเป็นแบบไหน
แล้วหน้าตาของโครงสร้างเว็บไซต์ที่ดีควรเป็นแบบไหน ? วันนี้ AMPROSEO มีสรุปมาฝาก ดังนี้
- มีการจัดกลุ่มเนื้อหาที่เกี่ยวข้องตามหัวข้อเข้าด้วยกัน
- มีการจัดกลุ่มโดย เน้นหน้าที่สำคัญที่สุดเอาไว้อย่างชัดเจน
- มีการอธิบายว่าโครงสร้างเว็บไซต์มีความลึกเพียงใด หรือต้องคลิกกี่ครั้งเพื่อไล่ตามหมวดหมู่ย่อยของเว็บไซต์ เพราะผู้ใช้ควรสามารถเข้าถึงเนื้อหาที่ต้องการได้ด้วยการคลิกเพียงไม่กี่ครั้ง
วิธีการออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ให้ดีกับการทำ SEO
มาดูวิธีการทำ Site Structure กันดีกว่าว่าจะต้องทำและเรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง ดังนี้
-
วางแผนการทำ Internal Linking
การทำ Internal Link ภายในเว็บไซต์ เป็นเหมือนการส่งสัญญาณให้ Google Bot มองเห็นว่าเว็บไซต์ในแต่ละหน้ามีความเชื่อมโยงกันอย่างไรบ้าง โดยวิธีที่ใช้งานได้ผลที่สุดของการทำ Internal Linking คือ การวาง Content Pillar ให้มีเนื้อหาหน้าหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนหัวข้อหลักที่รวบรวมเนื้อหาจากหน้าอื่นๆ เข้าไว้ด้วยกัน แล้วก็มีหน้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทำ Internal Link โยงมา เพื่อบอกว่ามีความสัมพันธ์กับหน้าหลักดังกล่าวด้วย
-
ทำให้ทุกหน้าเข้าถึงง่าย
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ใช้งานเว็บไซต์สามารถเข้าถึงเพจที่ต้องการได้ด้วยการคลิกเพียงไม่กี่ครั้ง ตามหลักแล้วคือน้อยกว่าสี่ครั้ง) ถึงแม้ว่าคุณจะมีหน้าเว็บไซต์ใหญ่เป็นหมื่นๆ แสนๆ หน้าก็ตาม ก็ควรที่จะค้นหาสิ่งที่ตามหาเจอได้ง่าย ไม่เช่นนั้น User ที่มีอยู่อาจไม่กลับมาใช้งานซ้ำสอง
-
ทำเมนูต่างๆ ให้ง่ายต่อความเข้าใจและทำตาม
การใช้เมนูนำทางเป็นวิธีง่ายๆ ในการเชื่อมโยงหน้าเว็บไซต์ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน และช่วยเสริมโครงสร้างเว็บไซต์ให้แข็งแรงมากขึ้น เพราะเมนูเป็นตัวช่วยในการรวบรวมลิงก์ที่เกี่ยวข้องเอาไว้เป็นหมวดหมู่ และเห็นว่าหน้าไหนคือหน้าสำคัญที่อยากจะให้คนเห็นหรือเข้าใช้งานบ่อยๆ
หรือถ้ามีเมนูเยอะๆ อาจจะทำเป็น Drop Down เพื่อโชว์ให้เห็นหมวดหมู่ของเนื้อหาที่มีทั้งหมดได้ ทำให้คนรู้ว่าหน้าแต่ละหน้าเกี่ยวกับอะไร มีหมวดหมู่อะไรบ้างที่สำคัญ
สำหรับในฝั่งของการใช้งานบนมือถือก็ต้องมี Hamburger navigation ที่เป็นแถบเมนู 3 ขีด (☰) ที่ทำหน้าที่ซ่อนเมนูย่อยหรือเมนูเพิ่มเติมที่ช่วยทำให้ผู้ใช้งานกดเข้ามาดูเมนูย่อยๆ ได้อย่างสะดวก
-
ปรับปรุง URL ของเว็บไซต์
ปรับปรุง URL ของเว็บไซต์ ให้เป็น Url friendly เพื่อให้ Url นั้นเป็นมิตรกับผู้ใช้งานด้วยการสื่อความหมายได้อย่างชัดเจน พร้อมจดจำได้ ยกตัวอย่างเช่น
-
ใช้งาน Breadcrumbs
Breadcrumbs คือ เครื่องมือที่ใช้นำทางในเว็บไซต์ ช่วยให้ user ที่เข้าเว็บไซต์รู้ว่าตอนนี้กำลังอยู่ในส่วนไหนของเว็บไซต์ อยู่ลึกจากหน้าหลักเท่าไหร่ เว็บไซต์ E-Commerce นิยมใช้เพราะมีหน้าจำนวนหลายร้อย หลายพันหน้า ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเจอเนื้อหาต่างๆ ที่ต้องการได้ง่ายขึ้น
-
ทำ XML Sitemaps
Sitemaps คือ แผนผังเว็บไซต์ที่รวบรวมรายการทุกหน้าของเว็บไซต์ จะเป็นส่วนที่อธิบายว่าเว็บไซต์นั้นๆ มีอะไรบ้าง โดย XML Sitemap จะเป็น Sitemap ประเภทหนึ่งที่สร้างขึ้นเพื่อบอก Google Bot ว่าเว็บไซต์นี้มีจำนวนเนื้อหากี่หน้า กี่ URL อัพเดตล่าสุดวันที่เท่าไหร่ จึงสำคัญสำหรับการทำ SEO เป็นอย่างมาก
สรุป
Site Structure คือ การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ให้ดีต่อทั้งผู้ใช้งาน และต่อการทำ SEO แน่นอนว่า พื้นฐานของเว็บไซต์ดีเป็นจุดหนึ่งที่ Google ให้ความสำคัญและเมื่อนำไปประกอบเข้ากับการทำ On-Page SEO ที่มีคุณภาพ การทำ Off-Page SEO ที่ทำให้ได้ความน่าเชื่อถือกลับมายังเว็บไซต์ รวมถึงการทำ Technical SEO ที่ช่วยทำให้เว็บไซต์โดยรวมดีขึ้น ย่อมส่งผลให้เว็บไซต์มีแนวโน้มติดอันดับขึ้นไปยัง Ranking ที่ต้องการได้จริง
ซึ่งถ้าใครสงสัยว่าทำยังไง ก็ลองติดตามอ่านบทความของ AMPROSEO ต่อๆ ไป รับรอว่าจะได้รู้ลึก รู้จริง รู้ในสิ่งที่นักทำ SEO ต้องรู้อย่างแน่นอนเลยล่ะฮิปปป~