Google Bard

ช่วงนี้เทรนด์ฮิตด้านเทคโนโลยีที่มาแรงเลยมากๆ เลยก็คงจะหนีไม่พ้นเหล่า Generative AI ที่เข้ามามีส่วนช่วยในการทำงานของคนเรามากขึ้น และที่เป็นกระแสหนักๆ แรงไม่หยุดฉุดไม่อยู่และทำให้คนรู้จักและเข้าถึง AI ในวงกว้างมากขึ้นเลยก็คือ ChatGPT แต่ตอนนี้ไม่ได้มีแค่ฝั่ง ChatGPT เท่านั้นที่มาเขย่าวงการ Google เองก็เปิดตัว “Google Bard” ที่เป็น AI application ออกมาให้ใช้งานด้วย

ดังนั้น มาดูกันดีกว่าว่า Google Bard คืออะไร เมื่อเปรียบเทียบกับ ChatGPT มีอะไรที่แตกต่างกันบ้าง พร้อมดูวิธีการใช้งานและฟีเจอร์น่าสนใจของ Google Bard ไปพร้อมๆ กันเลยดีกว่านะฮิปปป~

Google Bard คืออะไร

Google Bard คืออะไร

ที่มาภาพ: https://www.cnet.com

Google Bard อ่านว่า กูเกิล บาร์ด โดย Google Bard คือ AI ที่ถูกสร้างขึ้นมาโดย Google ซึ่งใช้งานง่าย เพียงแค่พิมพ์คุยกับ Google Bard ผ่านรูปแบบของการพูดคุยแบบ Chatbot (เช่นเดียวกันการใช้งาน ChatGPT นั่นแหละ) โดยจะพิมพ์เป็นคำถามหรือคำสั่งก็ได้ และสิ่งที่เราเขียนสั่งกันนี้จะเรียกกันว่า “Prompt”

ส่วนที่มาของชื่อ Bard คำนี้มีความหมายเหมือนกับคำว่า Poet หรือที่แปลได้ว่า กวี อย่างที่วิลเลียม เชกสเปียร์ ได้รับขนานนามว่าเป็น Bard of Avalon หรือกวีแห่งเอวอน ซึ่งตรงกับความสามารถของ Google Bard ที่มีความสามารถในการใช้ภาษานั่นเอง

Google Bard รองรับได้กี่ภาษา

สำหรับในปัจจุบันนี้ Google Bard เปิดให้ใช้บริการได้กว่า 40 ภาษาทั่วโลก รวมถึงภาษาไทย

  • ภาษารัสเซีย
  • ภาษาเซอร์เบีย
  • ภาษาสโลวาเกีย
  • ภาษาสโลวีเนีย
  • ภาษาสเปน
  • ภาษาสวาฮีลี
  • ภาษาสวีเดน
  • ภาษาทมิฬ
  • ภาษากู (ภาษาเตลูกู)
  • ภาษาไทย
  • ภาษาตุรกี
  • ภาษายูเครน
  • ภาษาอูรดู
  • ภาษาเวียดนาม
  • ภาษาฮีบรู
  • ภาษาฮินดี
  • ภาษาฮังการี
  • ภาษาอินโดนีเซีย
  • ภาษาอิตาลี
  • ภาษาญี่ปุ่น
  • ภาษากันนาดา (กันนะฑะ)
  • ภาษาเกาหลี
  • ภาษาลัตเวีย
  • ภาษาลิทัวเนีย
  • ภาษามาลายาลัม ฐี (มราฐี)
  • ภาษานอร์เวย์
  • ภาษาขัด
  • ภาษาโปรตุเกส
  • ภาษาโรมาเนีย
  • ภาษาคุชราต
  • ภาษาอาหรับ
  • ภาษาเบงกาลี
  • ภาษาบัลแกเรีย
  • ภาษาจีน (ตัวย่อ / ตัวเต็ม)
  • ภาษาโครเอเชีย
  • ภาษาเช็ก
  • ภาษาเดนมาร์ก
  • ภาษาดัตช์
  • ภาษาอังกฤษ
  • ภาษาเอสโตเนีย
  • ภาษาฟาร์ซี
  • ภาษาฟินแลนด์
  • ภาษาฝรั่งเศส
  • ภาษาเยอรมัน
  • ภาษากรีก

Google Bard ทำงานยังไง

สำหรับการทำงานของ Google Bard จะใช้โมเดลของ LaMDA (Laungage Model for Dialogue Applications) ที่เป็นระบบ AI ขนาดใหญ่ของ Google ซึ่งเรียนรู้การสร้างภาษาผ่านบทสนทนาเพื่อต่อบทสนทนา เข้ามาใช้และเราสามารถทำการฝึกฝนให้ Bard ทำการสร้างบทสนทนาเลียนแบบมนุษย์ พร้อมใช้ Natural language processing (NLP) และ Machine learning (ML) เข้ามาช่วยจึงทำให้สามารถฝึกฝนให้ Bard  เข้าใจภาษามนุษย์ได้อย่างเป็นธรรมชาติด้วย

Google Bard ต่างจาก ChatGPT ยังไง

มาเปรียบเทียบความแตกต่างของ Google Bard VS ChatGPT ว่า AI ทั้ง 2 รูปแบบมีความแตกต่างได้ยังไงบ้าง

หัวข้อ Google Bard ChatGPT
โมเดลภาษา Google Bard จะใช้โมเดลภาษา PaLM2 (Pathways Language Model version2 ) สามารถแนะนำหรือคาดการณ์คำถัดไปที่จะปรากฏต่อขึ้นมาในประโยคได้ ChatGPT จะใช้โมเดลภาษา Generative Pre-trained Transformer (GPT) ใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้เชิงลึกเพื่อสร้างข้อความที่คล้ายกับมนุษย์ แต่อาจสร้างข้อความที่ไม่เป็นความจริงหรือมีอคติได้
ความสดใหม่ของข้อมูลที่นำมาใช้ในการตอบคำถาม นำข้อมูลมาจากฐานข้อมูลของ Google ข้อมูลจึงสดใหม่ตลอด ข้อมูลที่สามารถให้ได้จากอยู่ถึงก่อนเดือนสิงหาคม 2021 เท่านั้น นอกนั้นยังไม่สามารถให้ข้อมูลได้
การใช้งาน Google Bard จะเหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการความถูกต้องของข้อมูล หรือต้องการแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือและมีความซับซ้อน ChatGPT จะเหมาะกับงานที่ต้องการความคิดสร้างสรรค์เป็นหลัก เช่น งานดนตรี การเขียนโค้ด ฯลฯ
ฟีเจอร์ Google Bard มี Extention ที่เชื่อมต่อกับแอปต่างๆ ของทาง Google และค้นหาข้อมูลแบบเรียลไทม์ได้ ChatGPT มี Web browsing, Plugin และ Code interpreter ให้ใช้งานเพิ่มเติมได้

เมื่อรู้ถึงคุณสมบัติและความสามารถของเครื่องมือไปแล้วก็อย่าลืมเลือกใช้งาน AI ให้ถูกกับงานที่เลือกทำกันด้วยนะฮิปปป~

ทำความรู้จัก Prompt เพื่อใช้งาน Google Bard

การเขียนข้อความ Prompt (text input) คือ การเขียนคำสั่งให้ AI ทำในสิ่งที่ต้องการ โดย Promp ที่ว่าเนี่ยเป็น การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural language processing :NLP) ที่เราฝึกฝนได้ ยิ่งถ้าเราทำ Prompt Design ดีและละเอียดมากเท่าไหร่ก็จะได้คำตอบในเชิงที่ลึกขึ้นมากเท่านั้น

แล้วการเขียน Prompt ที่ดีควรจะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง? แน่นอนว่า ก็ต้องมีชุดข้อมูลที่ต้องการจะให้ AI ตอบหรือทำให้ หลังจากนั้นอาจจะเพิ่มรายละเอียดที่มีความเจาะจงอื่นๆ ที่ทำให้เกิดคำตอบที่เฉพาะหรือเชิงลึกมากขึ้น และถ้ามีตัวอย่างก็อาจจะใส่ตัวอย่างลงไปด้วย

ทำความรู้จัก Prompt เพื่อใช้งาน Google Bard

ที่มาภาพ: https://twitter.com

ตัวอย่างการเขียน Prompt เพื่อสั่ง Google Bard

มาดูตัวอย่างการเขียน Prompt เพื่อสั่ง Google Bard ให้ทำงานตามสายงานที่คุณต้องการกันดีกว่าว่าจะเขียนอะไรได้บ้าง ดังนี้

Prompts สำหรับสายงาน Marketing

  • Develop a [product launch] strategy for [specific product] targeting [demographic]. >> ใช้สำหรับว่าแผนการพัฒนาโปรดักต์ที่มีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน
  • Outline an [Type of marketing] campaign for [brand] to increase [specific metric]. >> ใช้สำหรับร่าง Outline ของแคมเปญการตลาดสำหรับแบรนด์ที่มีการวัดผลลัพธ์ที่ชัดเจน
  • Create a [customer persona] for [specific product] and suggest [targeted marketing tactics]. >> ใช้สำหรับสร้าง Customer Persona และมีคำสั่งงานให้ช่วยวางแผนกลยุทธ์ด้านการตลาดเพิ่มเติมด้วย

Prompts สำหรับสายทำธุรกิจ

Prompts สำหรับสายทำธุรกิจ

  • Develop a [business model] for a [type of startup] in the [industry]. >> ใช้สำหรับพัฒนา business model โดยเฉพาะเจาะจงกลุ่มธุรกิจและอุตสาหกรรมที่ต้องการ
  • Analyze the [SWOT] for [company] and suggest [strategic initiatives]. >> เป็นคำสั่งให้ทำ SWOT Analysis ของธุรกิจและสั่งให้ช่วยวางแผนเพิ่มเติมให้ด้วย
  • Analyze the [competitive landscape] for [company] in the [industry]. >> เป็นคำสั่งให้ช่วยวิเคราะห์คู่แข่งในตลาดของอุตสาหกรรมที่ต้องการ

Prompts สำหรับสายทำคอนเทนต์

  • Write a [blog post] on the benefits of [specific product/service] for [target audience]. >> เป็นคำสั่งช่วยสายทำคอนเทนต์บล็อกที่ต้องการเขียนถึงสินค้าหรือบริการแบบเจาะกลุ่มเป้าหมาย
  • Develop a [content calendar] for a [type of business] in the [specific industry]. >> เป็นคำสั่งช่วยวางตารางคอนเทนต์ที่เหมาะกับธุรกิจและอุตสาหกรรมที่ต้องการ
  • Create an [email newsletter] for [company] to engage [customer base]. >> เป็นคำสั่งช่วยเขียน Email สำหรับส่งหากลุ่มลูกค้าที่ต้องการ

Prompts สำหรับสายทำเว็บไซต์

  • Outline a [website migration] plan for [business] moving to a new [platform]. >> คำสั่งให้เขียน Outline สำหรับการทำ Migration ของเว็บไซต์สำหรับย้ายไปแพลตฟอร์มใหม่
  • Outline a [website redesign] plan for [business] focusing on [user experience]. >>  คำสั่งให้เขียน Outline ของดีไซน์ใหม่สำหรับเว็บของธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง โดยระบุกลุ่มของเป้าหมายเอาไว้ด้วย
  • Develop a [responsive design] strategy for [company website] to optimize [mobile experience]. >> คำสั่งให้ช่วยพัฒนาตัว responsive design ของเว็บไซต์ โดยเน้นไปที่การใช้งานบนมือถือเป็นหลัก

เข้าไปใช้งาน Google Bard ได้ยังไง

เริ่มต้นใช้ Google Bard

  • พิมพ์เข้าเว็บไซต์ https://bard.google.com/ โดยตรงหรือเสิร์ช Google เอาก็ได้ว่า Google Bard ก็จะเจอทางเข้าไปยังเว็บไซต์
  • ใครที่ยังไม่เคยใช้ก็เข้าสู่ระบบด้วยบัญชีของ Google หรือไม่มีบัญชีก็ทำการสมัครให้เรียบร้อยก่อน
  • คลิกที่ “ปุ่มลองใช้ Bard” หรือ “Try Bard”

ลองถาม

เข้าไปใช้งาน Google Bard ได้ยังไง โดย ลองถาม

อย่างแรกเลยเมื่อเข้ามาใช้งานจะเจอกับช่องแช็ตที่ให้เขียน prompt หรือคำสั่งลงไปได้ แล้วกด Enter (หรือคลิกไอคอนส่ง) นอกจากนี้คุณยังสามารถอัปโหลดอัปโหลดรูปภาพ เช่น ภาพนกที่คุณเห็น และขอให้ Bard บอกคุณว่ามันเป็นนกชนิดใด

โต้ตอบกับคำตอบของ Google Bard

โต้ตอบกับคำตอบของ Google Bard

  • คุณสามารถบอกว่า ชอบหรือไม่ชอบการตอบกลับ Bard ได้จากการกด Like หรือ Dislike เพื่อบอกให้ Bard รู้ว่าคำตอบนั้นมีประโยชน์หรือไม่
    ขอให้ Bard แก้ไขคำตอบในน้ำเสียงที่ต้องการ
  • ขอให้ Bard แก้ไขคำตอบในน้ำเสียงที่ต้องการ เช่น บอกให้ตอบด้วยน้ำเสียงที่เป็นมืออาชีพน้อยลง มีความเป็นกันเองมากขึ้น หรือต้องการปรับคำตอบที่ได้มากให้สั้นลง โดยเลือกเครื่องมือ “Modify this response”
    แชร์ข้อมูลออกไปให้คนอื่นได้ หรือจะทำการ Export ออกไปเป็น Google Doc และทำเป็นดราฟใน Gmail ได้
  • คุณสามารถทำการแชร์ข้อมูลออกไปให้คนอื่นได้ หรือจะทำการ Export ออกไปเป็น Google Doc และทำเป็นดราฟใน Gmail ได้ด้วย
    Double-check a response ตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูลที่ Bard นำมาแสดงผล
  • หากคุณต้องการตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูลที่ Bard นำมาแสดงผลให้กับคุณสามารถกดที่ “Double-check a response” ให้คลิกที่ไอคอน Google แล้วลองดูข้อมูลได้เลยว่าสิ่งที่ได้มานั้นถูกต้องหรือเปล่า
    คำตอบโดยละเอียดหรือข้อมูลเพิ่มเติม ให้คลิกดูฉบับร่างอื่นๆ (View Other Drafts)
  • หากคุณต้องการคำตอบโดยละเอียดหรือข้อมูลเพิ่มเติม ให้คลิกดูฉบับร่างอื่นๆ (View Other Drafts) เพื่อดูตัวเลือกหาคำตอบที่ดีที่สุดมาใช้งานนั่นเองนะฮิปปป~

สรุป

จบกันไปแล้วกับความสามารถของ Google Bard จะเห็นแล้วนะว่า เก่งสมคำร่ำลือ ใช้งานได้หลากหลายมากๆ แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับ Prompt ที่เขียนด้วยนะว่า ใส่ชุดคำสั่งที่ดีพอที่จะทำให้ได้คำตอบตามที่ต้องการหรือเปล่า ใครที่เพิ่งลองใช้ก็หัดเล่นดูบ่อยๆ คิดซะว่าเราพิมพ์ Chat คุยกับเพื่อนก็ได้ แต่เพื่อนคนนี้เราสามารถฝึกให้เก่งและเข้าใจสิ่งที่ถามได้มากขึ้นด้วย ถ้าใช้แล้วชอบไม่ชอบยังไง รีวิวบอก AMPROSEO กันได้นะฮิปปป~ แต่ส่วนตัว AMPROSEO ใช้งานบ่อยมากเลยล่ะ งานสะดวกขึ้นเด้อออออ

เขียนโดย: น้อง Hippo
น้อง Hippo
บล็อกนี้ เป็นแหล่งรวมความรู้ SEO และการตลาดออนไลน์ที่ครบครันที่สุด อ่านแล้วนำไปใช้ได้จริง พัฒนาทักษะของคุณให้เติบโต