อยากรู้ว่า SEO คืออะไร? ทำแบบไหนถึงจะดี? วันนี้ AMPRO รวบรวมทุกองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำ SEO ในเบื้องต้นที่จะช่วยให้ทุกคนสามารถทำเว็บไซต์ให้เป็นที่ถูกตาต้องใจ Search Engine อย่าง Google ได้ง่ายมากขึ้น
คนที่ทำธุรกิจในยุคนี้ไม่ว่าจะเป็นสายที่ทำ Digital Marketing ในช่องทางอื่นๆ อยู่แล้ว หรือเป็นสายทำ Traditional Marketing ที่อยากจะลองกระโดดเข้ามาสู่การทำการตลาดบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต้องห้ามพลาดเลยนะจะบอกให้ เพราะ SEO นับเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเพิ่มโอกาสทางการขายได้เป็นอย่างดีเลยล่ะ
SEO คืออะไร
SEO ย่อมาจาก Search Engine Optimization อธิบายให้เข้าใจกันแบบภาษาชาวบ้าน SEO คือ การทำเว็บไซต์ให้ Search Engine อย่าง Google ชอบ จนถูกยกให้เป็นตำแหน่งลูกรัก ซึ่งการบอกว่าเว็บไซต์ของคุณเป็นลูกรักของ Google ก็คือ มอบของรางวัลเป็นตำแหน่งดีๆ บนหน้า SERP (Search Engine Result Page) ทำให้เวลาคนกดค้นหาคำ Keyword ใน Google แล้วเจอกับเว็บไซต์ของคุณได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งนี่จะทำให้ยอด Traffic ของกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการพุ่งสูงขึ้นแบบไม่ต้องเสียเงินโฆษณามากมาย แถมยังเปิดโอกาสให้ธุรกิจได้ยอดขายจากการเรียก Traffic เหล่านี้มาได้มากขึ้นอีกด้วย
และแน่นอนว่า จะเป็นลูกรักได้ก็ต้องทำตัวดีตามที่ Google กำหนด (ซึ่งก็มีมากมายหลายข้อด้วยกัน) แต่เดี๋ยว AMPRO จะบอกให้ว่าทำแบบไหนบ้างในหัวข้อต่อๆ ไปให้ได้รู้กันนะ
SEO VS SEM ต่างกันอย่างไร
เมื่อได้ยินคำว่า SEO ก็ต้องได้ยินอีกคำหนึ่งที่มักจะมาคู่กันเลยก็คือคำว่า SEM แล้ว SEO กับ SEM ต่างกันยังไงล่ะ?
อย่างที่ AMPRO บอกไปแล้วว่า SEO คือ วิธีการทำให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับต้นๆ บนหน้า Search Engine อย่าง Google ด้วยวิธี Organic ไม่เน้นเสียเงิน แต่เน้นทำให้เว็บไซต์มีคุณภาพตามที่ Google กำหนด เช่น ทำให้เว็บไซต์โหลดเร็ว, มี UX/UI ที่ดีต่อ User Experience, ทำคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ ฯลฯ
ส่วน SEM หรือ Search Engine Marketing คือ บ้านหลังใหญ่ที่ครอบคลุมคำว่า SEO และ PPC
- SEO ที่เป็นการทำ Organic Traffic หรือการทำให้เว็บไซต์ติดอันดับด้วยวิธีการธรรมชาติ เน้นปรับปรุงเว็บไซต์ให้ดีจึงทำให้เสียเงินน้อย
- ส่วนอีกคำคือ คำว่า PPC ที่หมายถึง การทำ Paid Traffic หรือการยิง Google Ads ซึ่งเป็นการซื้อโฆษณาผ่าน Google ทำให้ผลลัพธ์การทำโฆษณาในรูปแบบต่างๆ เช่น Google Display Network (GDN), YouTube Ads, Search Ads ฯลฯ ไปปรากฏบนแพลตฟอร์มต่างๆ ทั้งบน Google เองและเครือข่ายของ Google
ดังนั้น SEM จึงหมายถึง วิธีการทำการตลาดบนระบบ Search ที่รวมทั้ง Organic Traffic (SEO) และ Paid Traffic (PPC) เข้าไว้ด้วยกันนั่นเอง
SEO สําคัญอย่างไรกับการทำธุรกิจในยุคนี้
แล้วทำไมเราต้องทำ SEO ด้วยล่ะ? คำถามนี้ตอบได้ง่ายมาก เพราะ SEO คือ วิธีการทำ Digital Marketing รูปแบบหนึ่งที่ช่วยให้ธุรกิจในปัจจุบันได้รับประโยชน์ในแง่มุมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น…
- การรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness)
ลองสมมติดูว่า เวลาคุณสงสัยอะไร หรืออยากหาข้อมูลอะไรบางอย่าง สิ่งแรกๆ ที่หลายคนทำก็คือการเข้า Google แล้วทำการเสิร์ชหาเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ จากเว็บไซต์ต่างๆ แล้วถ้าสิ่งที่คุณสนใจนั้นเป็นองค์ความรู้ที่เชื่อมต่อถึงกัน เมื่อทำการค้นหาคำเหล่านั้นใน Google แล้วเจอเข้ากับเว็บเดิมๆ ที่เคยเข้า แน่นอนว่า เว็บเหล่านั้นก็อาจจะกลายเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญที่เราจะจดจำ และเลือกที่จะเข้ามาอ่านซ้ำบ่อยๆ
และนี่เองคือ ความสำคัญของ SEO ในแง่ของการสร้างการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness) ยกตัวอย่างเช่น คุณหาร้านอาหารอร่อย สยาม คุณเจอเว็บไซต์ Wongnai พอค้นหาคำว่า ร้านกาแฟ สยาม คุณก็เจอเว็บไซต์ Wongnai อีก แสดงว่า เว็บไซต์นี้มีข้อมูลเกี่ยวกับร้านอาหารจำนวนมาก ที่พอคุณเข้าเว็บไซต์ไปแล้วจะเจอกับข้อมูลด้านร้านอาหารที่ต้องการ ทำให้ภาพจำของเว็บ Wongnai เกี่ยวข้องกับเรื่องอาหารการกินไปโดยปริยาย
ตัวอย่างผลการค้นหา ร้านอร่อย สยาม
ตัวอย่างผลการค้นหา ร้านกาแฟ สยาม
- ช่วยในการพิจารณา (Consideration)
แล้วถ้าคุณกำลังสนใจสินค้าหรือบริการบางอย่าง แต่ไม่รู้ว่าจะเลือกซื้อดีหรือไม่ อยากหาข้อมูลเพิ่มเติม สิ่งที่คุณทำก็อาจจะเป็นการเข้า Google มาค้นหาข้อมูลเพื่อช่วยในการพิจารณา (Consideration) ได้อย่างสมเหตุสมผลมากขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น คุณทำบริษัทอาหารสุนัขและแมว ก็ต้องอยากได้กลุ่มคนที่ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอาหารสัตว์เลี้ยงทั้ง 2 แบบเป็นหลัก และถ้าคุณทำ SEO จนติดอันดับในกลุ่ม Keyword ที่ช่วยในการพิจารณาว่าจะซื้ออาหารแมวหรือสุนัขจ้าไหนดี ก็จะมีส่วนช่วยในการพิจารณาไปจนถึงซื้อสินค้าได้เลย อย่างที่คนค้นหาคำว่า “เปรียบเทียบโซเดียมในอาหารแมว” และคุณทำเว็บไซต์แนะนำสินค้าของคุณติดในคีย์เวิร์ดนี้ เมื่อกลุ่มเป้าหมายกดเข้าไปอ่าน และคิดว่าอาหารที่ขายอยู่ตอบโจทย์สำหรับพวกเขาก็อาจจะมีโอกาสตัดสินใจซื้อสินค้าจากคุณได้มากขึ้น
- ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ (Trustworthiness)
Google มีเกณฑ์ในการจัดอันดับเว็บไซต์หนึ่งที่ชื่อว่า E-A-T Factor (หรือตอนนี้ที่เพิ่มมาเป็น E-E-A-T Factor) โดยที่เว็บไซต์ควรที่จะทำให้ตรงเกณฑ์เหล่านี้ถึงจะได้รับโอกาสในการขึ้นสู่อันดับต้นๆ บนหน้า Google ได้
- Expertise (ความเชี่ยวชาญ) : ทำให้เว็บไซต์ดูเป็นกูรู (Guru) ดูมีทักษะเฉพาะ ด้วยการเขียนเนื้อหาลงลึกที่เกี่ยวกับธุรกิจที่ทำได้
- Experience (ประสบการณ์) : ด้วยการเขียนเนื้อหาจากประสบการณ์ตรง เช่น เขียนสูตรอาหารจากเชฟที่เคยทำอาหารมาก่อน เป็นต้น
- Authoritativeness (ความมีอิทธิพล) : ทำให้เว็บไซต์ได้รับการอ้างอิงถึงจากเว็บไซต์ที่มีคุณภาพและอยู่ในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน หรือที่เรารู้จักกันในวิธีการทำ Backlink
- Trustworthiness (ความน่าเชื่อถือ) :
ซึ่งถ้าคุณทำตามเกณฑ์เหล่านี้ได้ แสดงว่าเว็บไซต์และเนื้อหาบนเว็บต้องเข้าตากรรมการและถูกมองว่ามีประโยชน์แบบสุดๆ แบบนี้ความน่าเชื่อถือในตัวธุรกิจก็จะมีเพิ่มมากขึ้นด้วย
- ช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ (User Experience)
นอกจากเกณฑ์ E-A-T Factor แล้วก็ยังมีอีกเกณฑ์สำหรับในฝั่งของคนทำเว็บไซต์นั่นคือ Core Web Vitals ที่โฟกัสในการทำ User Experience ให้ดีขึ้นจากการเข้าใช้งานเว็บไซต์ ซึ่งในการทำ SEO จะต้องเน้นแก้ไขให้เว็บมีประสิทธิภาพดีมากพอตามเกณฑ์ Core Web Vitals ที่จะช่วยสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีให้กับกลุ่มเป้าหมาย และได้รับอันดับที่ดีขึ้นจากการทำสิ่งนี้ด้วย
ทํา SEO ให้ติดหน้าแรก Google ได้อย่างไร
ไม่ว่าใครก็อยากทำ SEO ให้ติดอันดับ 1 หรือเรียกได้ว่าเป็นลูกรักของ Google กันทั้งนั้นใช่ไหม แต่การที่จะทำอันดับแบบ Organic ได้เนี่ยก็ไม่ใช่เรื่องง่ายขนาดนั้น คุณจำเป็นต้องเรียนรู้ก่อนว่า SEO นั้นมีองค์ประกอบอะไรสำคัญๆ บ้าง ซึ่งคุณจะต้องโฟกัสในการทำเรื่องเหล่านี้ให้ดีถึงจะช่วยในการทำอันดับสู่หน้า 1 ได้ โดยองค์ประกอบที่ AMPRO พูดถึงนี้ก็มีอยู่ 3 ส่วนหลักๆ ด้วยกัน ได้แก่
1. การทำ On-Page SEO
On-Page SEO คือ การปรับปรุงสิ่งต่างๆ บนหน้าเว็บไซต์ให้ถูกอกถูกใจ Google ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานว่าหน้าเพจนี่เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง
ยกตัวอย่างสิ่งที่ต้องปรับบน On-Page ของเว็บไซต์ เช่น
- ปรับ Title Tag คือ ชื่อเรื่องของบทความให้สั้น กระชับ และมี Keyword ที่เกี่ยวข้อง
- ปรับ Meta Description ของบทความให้เข้าใจง่าย และมี Keyword ที่เกี่ยวข้อง
- ปรับ SEO Friendly URLs ให้สั้น กระชับ และเข้าใจง่าย
- ปรับ Alt Text ของรูปภาพให้มี Keyword และคำอธิบายรูปภาพที่ชัดเจน
- ปรับ Internal Links ในบทความด้วยการทำลิงก์ที่เกี่ยวข้องภายในเว็บไซต์ให้เชื่อมโยงถึงกัน
- ปรับ External link ในบทความไปยังเว็บไซต์ที่มีคุณภาพและเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ของคุณ
- ปรับ Heading Tag ให้เรียงตามลำดับความสำคัญ เริ่มตั้งแต่ H1, H2, H3, …
2. การทำ Off-Page SEO
Off-Page SEO คือ เทคนิคการทำให้เว็บไซต์มีอันดับที่ดีขึ้นด้วยปัจจัยภายนอก หรือที่เราเรียกว่าการทำ Backlink จากเว็บไซต์อื่น โดยทำการอ้างอิงเนื้อหามายังเว็บไซต์เรา หรือจะใช้แพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น Social Media ต่างๆ ในการพูดถึงเว็บไซต์ร่วมด้วยก็ช่วยทำให้ Off-Page SEO แข็งแรงมากขึ้นได้
(แต่ทั้งหมดนี้ต้องทำอย่างเป็นธรรมชาตินะ อย่าทำมากเกินไปไม่อย่างนั้น Google นะมองว่าเป็น Spam แล้วโดนลงโทษได้นะ)
3. การทำ Technical SEO
Technical SEO คือ การปรับปรุง SEO ในเชิงเทคนิค ทั้งปรับแต่ง แก้ไข และปรับปรุงให้เว็บไซต์เป็นไปตามเกณฑ์ที่ Google ชอบ ในส่วนนี้ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาบนเว็บไซต์หรือนอกเว็บไซต์ แต่จะเกี่ยวกับการทำให้ Google มองโครงสร้างของเว็บไซต์ได้แบบทะลุปรุโปร่ง ทำให้เก็บข้อมูลได้ง่าย และส่งผลต่อการจัดอันดับด้วย เช่น การทำ XML Sitemap, การทำ Page Speed, การ Disavow Link เป็นต้น
ขั้นตอนการทํา SEO สําหรับมือใหม่
ใครที่เป็นมือใหม่ แล้วไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นทำ SEO อย่างไรดี แนะนำให้ทำตามขั้นตอนของ AMPRO ทั้ง 8 ขั้นตอนด้านล่างนี้เลย รับรองว่า ช่วยเป็น Guidline ที่ทำให้คุณทำเว็บไซต์ให้ Google ชอบด้วย SEO ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นแน่นอน!
1. เรียนรู้การทำงานของ Google Bot
จะทำ SEO ได้แบบเซียนๆ ก็ต้องเข้าใจวิธีการทำงานของ Google ก่อน เพราะ Google เองเขาก็มีวิธีในการเข้ามาเก็บข้อมูลและนำไปจัดอันดับด้วยเหมือนกัน ซึ่งถ้าเราไม่รู้ ก็คงเดาใจ Google ไม่ถูกว่าจะทำยังไงให้ Google เข้ามาดูเว็บไซต์และเก็บข้อมูลไปจัดอันดับ ซึ่งวิธีการทำงานของ Google จะใช้สิ่งที่เรียกว่า Google Bot เข้ามาเก็บข้อมูล โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
- Crawling : Google Bot จะเข้ามาเก็บข้อมูลบนเว็บไซต์ตาม Urls ต่างๆ และส่งข้อมูลกลับมาให้ฐานข้อมูล
- Indexing : หลังจากที่ข้อมูลเข้ามายังฐานข้อมูลแล้ว ก็จะเป็นขั้นตอนของการจัดทำดัชนี เหมือนกับการนำหนังสือเข้ามาจัดเรียงเอาไว้ในห้องสมุดขนาดใหญ่ ถ้าเว็บไซต์ได้รับการจัดทำดัชนีแล้วก็จะมีโอกาสถูกคนค้นหาเจอได้มากขึ้น
- Ranking : Google จะนำข้อมูลที่จัดเก็บไว้มาจัดเรียงอันดับ และคัดเลือกผลลัพธ์ที่ดีที่สุดขึ้นมาไว้ในหน้าแรกๆ และนี่แหละคือ อันดับที่คนทำ SEO ต้องการ
2. ทำความเข้าใจเรื่อง Goal ของการทำ SEO
เข้าใจถึงหลักการทำงานของ Google ไปแล้ว เรามาทำความเข้าใจกันว่า Goal ของการทำ SEO นั้นควรที่จะกำหนดไว้อย่างไร เพื่อให้การทำอันดับบน Google ไม่ได้นำพามาแต่ Traffic แต่ยังตรงต่อวัตถุประสงค์ในด้านอื่นๆ กลับมาด้วย โดยการตั้ง Goal จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
- วาง Outcome goal
เป็นการวางเป้าหมายในภาพรวม แต่ต้องไม่กว้างมากจนเกินไป ซึ่ง AMPRO จะขอแนะนำให้ตั้งตามแผน SMART Goal ได้แก่
- S – Specific เป็นการกำหนดเป้าหมายที่ชี้เฉพาะและมีขอบเขตที่แน่ชัด
- M – Measurable เป็นการกำหนดเป้าหมายที่สามารถวัดผลได้
- A – Achievable เป็นการกำหนดเป้าหมายภายใต้ระยะเวลาและทรัพยากรตามความเหมาะสม และมีเหตุผล
- R – Relevant เป็นการกำหนดเป้าหมายที่สอดคล้องกับผลลัพธ์ที่ต้องการในระยะยาว
- T – Time-based เป็นการกำหนดเป้าหมายในระยะเวลาที่จำกัด
ยกตัวอย่างเช่น ตั้งเป้าว่าจะต้องทำ SEO ให้ติดอันดับ 1 ใน 3 อันดับแรกสำหรับ [คำหลักที่มีมูลค่าสูง] ใน 6 เดือน โดยการวัดผลผ่าน SEO Tools เช่น Ahrefs เป็นต้น
- วาง Performance goal
ในขั้นนี้จะเป็นการกำหนดเป้าหมายของวิธีการทำให้ได้มาซึ่ง Outcome goal โดยอาจจะมีเป้าหมายเดียวหรือหลายเป้าหมายก็ได้ เช่น คุณตั้งเป้าว่าจะต้องทำ SEO ให้ติดอันดับ 1 ใน 3 อันดับแรกสำหรับ [คำหลักที่มีมูลค่าสูง] ใน 6 เดือน โดยการวัดผลผ่าน SEO Tools เช่น Ahrefs การตั้ง Performance goal ก็อาจจะเป็น การทำ Backlink คุณภาพสูงจำนวน 40 รายการมายังเว็บเพจภายใน 6 เดือน โดยจะวัดผลผ่าน SEO Tools เช่น Ahrefs เป็นต้น
- วาง Process goal
สำหรับขั้นสุดท้ายของการตั้ง Goal จะเป็นเป้าหมายของการกระทำที่เราสามารถควบคุมได้ 100% ซึ่งทำเพื่อให้บรรลุ Outcome goal และ Performance goal ที่วางไว้ เช่น
คุณตั้งเป้าว่าจะต้องทำ SEO ให้ติดอันดับ 1 ใน 3 อันดับแรกสำหรับ [คำหลักที่มีมูลค่าสูง] ใน 6 เดือน โดยการวัดผลผ่าน SEO Tools เช่น Ahrefs และมีเป้าหมายที่ช่วยทำให้สำเร็จ Outcome goal ได้ด้วยการทำ Backlink คุณภาพสูงจำนวน 40 รายการมายังเว็บเพจภายใน 6 เดือน
แล้วจะทำอย่างไรให้ได้ Backlink กลับมาถึง 40 รายการในระยะเวลา 6 เดือน ส่วนนี้แหละที่เป็น Process goal ที่ต้องวางเพิ่ม เช่น ใช้การส่งอีเมล เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ โดยจะต้องทำการคำนวณว่า ต้องส่ง Email ทั้งหมดเท่าไหร่ ถึงจะได้รับ PR Content กลับมายังเว็บไซต์ ยกตัวอย่างเช่น ปกติคุณได้รับ Conversion rate ในด้านการตอบรับว่าจะลงคอนเทนต์ให้จากการส่งอีเมลอยู่ที่ 5%
คิดว่าคุณต้องการ 40 backlinks / 5% Conversion rate = คุณต้องส่งทั้งหมด 800 อีเมล
แสดงว่าเฉลี่ยต่อเดือนคุณจะต้องทำการส่งอีเมลอยู่ที่ 800 อีเมล/ 6 เดือน = ~133 emails/month
3. ทำการวิเคราะห์เว็บไซต์
มาต่อกันที่ส่วนสำคัญหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการทำ SEO แล้ว นั่นคือ การวิเคราะห์เว็บไซต์ว่า ในปัจจุบันนี้มี Performance เป็นยังไงบ้าง โดยใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า Pagespeed Insight ในการเช็กได้เลยว่า เว็บไซต์ในภาพรวมที่จุดไหนที่สามารถปรับปรุงได้บ้าง เช่น ไฟล์รูปมีขนาดใหญ่, Server ช้า, มี CSS/Java Script ที่ไม่จำเป็นหรือเปล่า เป็นต้น (เรื่องนี้สำคัญมากๆ เลยนะ เพราะเกี่ยวข้องกับเรื่อง Core Web Vitals ด้วย)
4. วาง Site Structure หรือโครงสร้างเว็บไซต์ให้ดีต่อ SEO
Site Structure คือ การวางโครงสร้างเว็บไซต์ให้ดีต่อการใช้งานสำหรับ User และดีต่อ SEO โดยให้ Google Bot สามารถเข้ามาเก็บข้อมูลของเว็บไซต์ได้ง่ายมากขึ้น โดยไม่มีหน้าไหนตกจากการสำรวจไป อีกทั้ง ยังช่วยให้ Bot รู้ด้วยว่าเว็บไซต์นี้ทำเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ยกตัวอย่าง Site Structure ที่ดีส่วนใหญ่จะออกมาในรูปแบบแผนผังต้นไม้ หรือ Tree Structure
5. ทำการส่ง Sitemap และสร้างไฟล์ Robots.txt
Sitemap คือ แผนผังเว็บไซต์ที่ทำหน้าที่เหมือนกับสารบัญของเว็บไซต์นั้นๆ โดยจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
- HTML Sitemap ส่วนใหญ่จะถูกจัดวางไว้ในส่วนของ Footer เป็นส่วนที่ช่วยทำให้คนใช้เว็บไซต์เห็นว่า เว็บไซต์มีหน้าเพจอะไรบ้าง
- XML Sitemap จะเป็น Sitemap สำหรับ Google Bot ที่จะเข้ามาเก็บข้อมูลบนเว็บไซต์ โดยจะช่วยให้ Bot รู้ว่าเว็บไซต์นี้มีกี่หน้า หรือทำการอัปเดตล่าสุดเมื่อไหร่ ซึ่งคุณจะต้องทำการส่ง XML Sitemap ให้กับ Google ผ่านทาง Google Search Console
ตัวอย่างการส่ง Sitemap บน Google Search Console
นอกจาก Sitemap แล้วก็ยังมี Technical SEO อีกอย่างที่ต้องทำคือ การทำไฟล์ Robots.txt เพื่อระบุให้ Google Bot รู้ว่าสามารถเก็บข้อมูลหน้าไหนได้บ้าง โดยวิธีการเขียนคำสั่งสามารถทำได้หลายแบบ เช่น
- ไม่อนุญาตให้ Search Engine ตัวไหนก็ตามเข้ามาเก็บข้อมูลทั้งเว็บไซต์ จะเขียนคำสั่งว่า User-agent: *Disallow: /
- ไม่อนุญาตให้เข้ามาเก็บข้อมูลหน้าเพจต่าง ๆ ตามที่ระบุ จะเขียนคำสั่งว่า User-agent: *Disallow: /useless_file.htmlDisallow: /junk/other_useless_file.html
ซึ่งข้อดีของการทำ Robots.txt จะช่วยทำให้ไม่เกิด Duplicate Content ช่วยให้ Google Bot เข้าถึงแผนผังเว็บไซต์ (Sitemap) ได้ง่าย และยังช่วยป้องกันไม่ให้ Bot ทำ Index ไฟล์บนเว็บไซต์ที่ไม่ต้องการได้
6. ทำ Keyword Research
หัวใจสำคัญของการทำ SEO ก็ต้องเป็นเรื่องของ Keyword ที่เป็นสิ่งที่นักทำ SEO จะต้องทำการ Research ว่าคำไหนมี Search Volume สูง เกี่ยวข้องกับธุรกิจ สามารถทำการแข่งขันได้ และเป็น Keyword ที่ตรงกับเป้าหมายของการทำการตลาดออนไลน์ด้วย ถึงจะเลือกมาทำเป็น Keyword สำหรับเว็บไซต์ โดยคีย์เวิร์ดที่ใช้กันอยู่จะแบ่งออกเป็น 4 แบบหลักๆ คือ
- Seed Keyword : เป็นคำ Keyword กว้างๆ ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น เสื้อผ้าเกาหลี รองเท้าผู้ชาย รถยนต์ ฯลฯ
- Niche keyword : เป็น Keyword ที่บอกถึงกลุ่มหรือหมวดหมู่สินค้าและบทความ เช่น เสื้อผ้าเกาหลี CHUU, รองเท้าผู้ชาย Nike เป็นต้น
- Niche Longtail keyword : เป็น Keyword ที่เฉพาะเจาะจง ระบุชัด รุ่นอะไร หรือมีราคาเท่าไหร่ เช่น ขายรองเท้าผู้ชายรุ่น xxx ราคาถูก เป็นต้น
LSI Keyword : เป็นรูปแบบ Keyword ที่ช่วยให้ Google เข้าใจบริบทของเนื้อหาในเว็บไซต์ว่าเกี่ยวข้องกับอะไร เช่น คุณเขียนบทความเกี่ยวกับจากัวร์ที่เป็นรถยนต์ ถ้าอยากให้ Google เข้าใจว่า คำนี้เกี่ยวกับอะไร และไม่ได้หมายถึงเสือจากัวร์ ก็ต้องเพิ่ม LSI Keyword เข้ามาด้วย เช่น ใส่คำว่า เครื่องยนต์ รถยนต์ มือสอง ฯลฯ ซึ่งเป็นคำที่บอกบริบทว่า จากัวร์ในที่นี้ หมายถึง ยี่ห้อรถยนต์
7. สร้างเนื้อหาหรือคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ
เมื่อได้ Keyword ที่ต้องการแล้วก็ต้องนำคำเหล่านั้นมาสร้างเป็นบทความที่ตอบโจทย์สำหรับ Search Intent ของ Keyword เหล่านั้น โดยใช้หลักการเขียน On-Page เข้ามาช่วยเหลือ ซึ่งวิธีการทำบทความหรือเนื้อหาบนหน้าเว็บไซต์ที่ดีก็ต้องเน้นตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน Google ได้ด้วยการให้ข้อมูลที่ตรงกว่า และละเอียดกว่าของคู่แข่ง อย่าพยายามทำเว็บไซต์ เพื่อให้ Google Bot ชอบอย่างเดียว หรือพยายามปั๊มบทความจำนวนมาก เพื่อเน้นเก็บ Keyword แต่ผู้อ่านไม่ได้ประโยชน์อะไรจากการอ่านเลย
และการทำคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ นอกจากจะช่วยทำให้เว็บไซต์ติด SEO ในรูปแบบปกติแล้ว ก็ยังทำให้มีโอกาสติดในฟีเจอร์อื่นๆ ของ Google ที่ช่วยทำให้อันดับสูง และทำให้คนพบเจอเว็บไซต์ของคุณได้มากขึ้น เช่น การติดบนอันดับ 0 อย่าง Featured Snippets เป็นต้น
8. ทำ Link Building ให้กับเว็บไซต์
การทำ Link Building เป็นการทำ Internal Link ภายในเว็บไซต์ในหัวข้อของคอนเทนต์ที่มีความเกี่ยวข้องกัน และทำ Backlink มายังเว็บไซต์ โดย Backlink ที่ลิงก์มาจะเน้นไปที่ Backlink คุณภาพเท่านั้น เช่นเป็นลิงก์ประเภท Dofollow Links, เป็นลิงก์ที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์, เป็นลิงก์ที่มีความน่าเชื่อถือ โดยวัดจาก Domain Ranking ที่สูง เป็นต้น
ซึ่งการทำ Link Building ที่มีคุณภาพจะต้องอาศัยทักษะการทำคอนเทนต์คุณภาพ ให้คนรู้สึกอยากที่จะแชร์หรืออ้างอิงถึงบทความของคุณต่อ หรือถ้าใครอยากจะทำ Guest Post อย่างการเข้าไปเขียนให้กับเว็บไซต์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องแล้วของ Backlink กลับมายังเว็บไซต์ของคุณก็ได้ รวมถึงจะใช้วิธีการทำ PBN คือ การทำบล็อกส่วนตัวจำนวนหนึ่งแล้วยิงเป็น Backlink กลับมาก็ได้เช่นกัน ซึ่งในแต่ละวิธีก็มีข้อดี-ข้อเสียต่างกันไป ยังไงก็ลองศึกษาจากบทความของ AMPRO ดูก่อนจะเลือกลงมือทำได้นะ
SEO จ้างทำได้หรือไม่
อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจรู้สึกว่าการทำ SEO มีขั้นตอนที่มากมายเกินกว่าที่จะทำด้วยตัวเองได้ แล้วแบบนี้จะใช้วิธีไหนได้อีกบ้างที่จะทำให้เว็บไซต์ติด Google ในหน้า 1 ได้บ้าง?
แน่นอนว่า การจ้างทำ SEO ก็เป็นอีก Solution หนึ่งที่คุณจะทำได้ แต่การจ้างทำ SEO ไม่ได้หมายถึงการจ้างมาปั่นให้ Performance พุ่งขึ้นจนติดหน้า 1 ด้วยเทคนิค SEO สายเทา หรือ Negative SEO แต่ควรที่จะทำ SEO สายขาวที่ทำให้ติดอันดับอย่างยั่งยืน โดยควรที่จะโฟกัสที่ 4 ส่วนคือ
- การปรับปรุงเว็บไซต์ทั้งในด้าน UX/UI และด้าน Coding เพื่อที่จะได้ปรับให้เว็บไซต์เร็วขึ้น ใช้งานได้ดีขึ้น และคลีนส่วนที่ไม่จำเป็นออกจากเว็บไซต์ เพื่อให้เว็บไซต์เป็นมิตรต่อ Google มากที่สุด
- การทำ SEO อย่างที่ AMPRO บอกทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการปรับ Technical SEO, On-Page และ Off-Page SEO
- การทำกราฟิก เพราะภาพบนเว็บไซต์ก็เป็นส่วนที่ทำให้เว็บไซต์น่าสนใจ และมีส่วนช่วยทำให้มียอด Traffic เข้าเว็บไซต์จาก Image Search ได้ แต่ในด้านความเสี่ยงก็คือ ถ้าคุณเลือกใช้ภาพที่มีขนาดใหญ่ เลือกสกุลไฟล์ไม่เหมาะสม ก็อาจทำให้เว็บไซต์ช้าได้ด้วย ดังนั้น ต้องจ้างคนที่เข้าใจการทำกราฟิกบนเว็บไซต์ด้วย
- การทำ SEO คอนเทนต์ จะเป็นการโฟกัสที่คุณภาพของเนื้อหาว่า ตอบโจทย์ต่อ Search Intent แค่ไหน มีประโยชน์หรือไม่ และเขียนถูกหลักการทำ SEO หรือเปล่าด้วย
หากจ้างบริษัทรับทำ SEO ที่สามารถตอบสนองเรื่องเหล่านี้ได้ ก็นับเป็นทางเลือกที่ดีที่จะช่วยทำให้เว็บไซต์ติดหน้า Google ใน Ranking ที่ต้องการ โดยไม่ต้องมานั่งเรียนรู้หรือลงมือทำด้วยตัวเอง อีกทั้ง ช่วยลดเวลาการลองผิดลองถูกได้ด้วย
สรุป
SEO Marketing คือ เทคนิคการทำการตลาดออนไลน์บน Search Engine อย่าง Google ด้วยการทำอันดับบนหน้า Search ให้ติดในอันดับที่ดี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง Traffic สร้างการรับรู้แบรนด์ ช่วยในการตัดสินใจซื้อ หรือสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ด้วยเทคนิคต่างๆ ที่ก็เห็นกันแล้วว่ามีความละเอียดและเน้นไปที่คุณภาพมากกว่าการพยายามใช้วิธีแนว BLACK HAT SEO ที่เน้น Spam Link หรือปั่นบทความเพื่อเร่งทำอันดับ แต่สุดท้ายแล้วก็ต้องพบว่า อันดับนั้นร่วงไวยิ่งกว่าใบไม้ซะอีก!
ดังนั้น ใครที่จะทำ SEO ก็พยายามเน้นการสร้างเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพทั้งในด้านการใช้งานและด้านเนื้อหา เพื่อให้เว็บไซต์คุณกลายเป็นลูกรักของ Google ในระยะยาว โดยไม่โดนลงโทษหรือลดอันดับให้ต้องมานั่งแก้ไขทีหลังดีกว่านะ