SEO Keywords
กดเข้ามาอ่านบทความนี้ แสดงว่าคุณกำลังศึกษาเกี่ยวกับวิธีการทำ SEO อยู่ใช่มั้ยล่ะ? AMPROSEO เองที่ศึกษา SEO อยู่เหมือนกันเลยคิดว่า เรื่อง SEO Keywords ที่จะพูดถึงในบทความนี้มีความสำคัญมากๆ ที่จะช่วยทำให้เว็บไซต์ของคุณติดหน้า SERPs ได้ดีขึ้น
เพราะนี่คืออีกหนึ่งเทคนิคสำคัญในการทำ On-Page SEO ใครที่เข้าใจหลักการใช้งาน Keyword นี่เรียกได้ว่ามีชัยไปกว่าครึ่งเลยนะจะบอกให้!
ดังนั้น อย่าเสียเวลากันเลย ไปดูกันว่า SEO Keywords คืออะไร สำคัญแค่ไหน มีกี่ประเภท รวมถึงมีวิธีการใช้ยังไงบ้าง ส่วนใครที่อยากหา SEO Keywords ไปเขียนบทความ น้องฮิปโป ก็แปะแหล่งหาไว้ให้ด้วยนะ จะมีอะไรบ้างตามไปดูกันเลยดีกว่าค่าาา ~
SEO Keywords คืออะไร
SEO Keywords คือ คำค้นหาที่คนใช้ค้นหาใน Search Engine นี่แหละ แล้วเราหยิบมาทำเป็น Keywords บนเว็บไซต์ของเรา ทำให้ติดอันดับบนหน้า Search Engine ได้ดีขึ้น ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดมากยิ่งขึ้น ก็อย่างเช่น
ตอนนี้ น้องฮิปโป อยากไปเที่ยวทะเลมากๆ เลย แต่ไม่รู้จะไปไหนดี เวลาก็มีน้อย อยากไปใกล้ๆ กรุงเทพฯ ก็พอ น้องฮิปโป ก็อาจจะเข้า Google แล้วพิมพ์ว่า ‘ทะเลใกล้กรุงเทพ’ คำว่า ‘ทะเลใกล้กรุงเทพ’ นี่แหละคือ คีย์เวิร์ด (Keywords)
แต่สำหรับคนทำเว็บไซต์ที่ต้องการขายของ Keyword คือ คำที่คนใช้ค้นหา แล้วมาเจอเข้ากับสินค้าหรือบริการ แล้วช่วยทำให้ซื้อหรือใช้บริการธุรกิจ เช่น ซื้อเครื่องกรองน้ำ, ซื้อคอนโด, รองเท้ามือสอง ราคา เป็นต้น คนที่ค้นหาอะไรแบบนี้มักเป็นคนที่มีโอกาสซื้อสินค้าได้นั่นเอง
ทำไมต้องใช้ SEO Keywords ในการทำเว็บไซต์
คนทำเว็บไซต์ที่ไม่ได้ทำ SEO เว็บไซต์ของคุณก็อาจมี Traffic ที่น้อย คนไม่เข้ามาใช้งานบ่อย แน่นอนว่า มันส่งผลต่อเว็บไซต์ โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่ทำธุรกิจ เพราะไม่ว่าใครก็อยากให้คนหาเจอบน Google ทั้งนั้นใช่มั้ยล่ะ?
นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมคนทำเว็บไซต์จะต้องทำ SEO และถ้าคุณต้องทำ SEO ก็ต้องโฟกัสและให้ความสำคัญกับการทำ SEO Keywords เพราะนี่คือหัวใจของการปรับปรุง On-Page บนเว็บไซต์ที่ช่วยให้ Bot ของ Search Engine อย่าง Google เข้าใจว่า หน้าเว็บไซต์นี้กำลังพูดถึงเรื่องอะไร แล้วทำการจัดอันดับเว็บไซต์ใน Keywords ได้อย่างถูกต้อง
เพราะ Google เองก็ให้ความสำคัญกับ User Experience ในการค้นหาค่อนข้างมาก หากคนเสิร์ชอะไรมา Google ก็คาดหวังว่า พวกเขาจะได้เห็นผลลัพธ์ที่ตรงใจมากที่สุด และ SEO Keywords ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ Google ใช้มองว่า เว็บไซต์นั้นมีความตรงกับ Search Intent มาน้อยแค่ไหนนั่นเอง
นอกจากจะสำคัญในการทำอันดับแล้ว ในฝั่งของการทำการตลาด SEO Keywords เองก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะคีย์เวิร์ดแต่ละแบบจะดึง User เข้ามาในเว็บไซต์ด้วยจุดประสงค์ที่ต่างกัน
อย่างในภาพตัวอย่างจะเห็นว่า คนที่ค้นหาไอเดียในการทำวิดีโอ Ad มีเยอะมาก หากคุณทำคอนเทนต์และใช้ Keyword คำนี้ก็จะได้กลุ่มคนเหล่านี้เข้ามายังเว็บไซต์ ทำให้คนจำนวนมากรู้ว่าเว็บของคุณเกี่ยวกับอะไร ให้ความรู้ในเรื่องไหนบ้าง แน่นอนว่าช่วยสร้าง Brand Awareness ได้เป็นอย่างดี
แต่ถ้าใครที่ค้นหาเกี่ยวกับ ราคาของ Video Agency ก็อาจจะเป็นกลุ่มคนที่กำลังตัดสินใจว่าจะจ้างเอเจนซี่ในการทำวิดีโอดีหรือเปล่า หากคุณทำบริการในด้านนี้อยู่ การเขียนบทความให้ความรู้และช่วยตัดสินใจใน Keyword นี้ก็จะช่วยทำให้สร้าง Considaration ให้เกิดกับกลุ่มเป้าหมายได้
และสุดท้ายถ้าคุณต้องการคนที่มีโอกาสเป็นลูกค้าของคุณแบบสุดๆ การเขียนบทความใน Keyword ที่เกี่ยวกับการมองหา Video Agency เลยก็จะช่วยทำให้สร้างยอดขายตามมาได้มากขึ้น
ความสำคัญของ Keywords ต่อการทำ Google Ads
Keyword ไม่ได้สำคัญกับแค่การทำ SEO เท่านั้น แต่ยังสำคัญกับการทำ Google Ads ด้วยเพราะการซื้อโฆษณาบน Google เองก็ต้องใช้ Keyword ในการทำการแข่งขันด้วยเหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น
คุณทำธุรกิจเป็น Fitness Coach คุณต้องการให้คนที่ค้นหาคำว่า Fitness Coach เจอเว็บไซต์ของคุณ หากคุณทำ SEO ยังไม่แข็งแรงพอก็อาจจะต้องพึ่งพาการยิง Ads ด้วย โดยที่คุณก็ต้องใช้เงินในการซื้ออันดับใน Keyword นี้ เพื่อให้คนเจอหน้าเว็บไซต์ของคุณในตำแหน่งอันดับ 1 บนหน้าแรกของ Google นั่นเอง
ประเภทของ SEO Keywords มีอะไรบ้าง
เห็นถึงความสำคัญของ Keywords กันไปแล้ว คราวนี้เรามาดูว่า SEO Keywords มีอยู่ด้วยกันกี่ประเภทกันดีกว่า จะได้เลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น โดย น้องฮิปโป จะขอแบ่ง Keyword ออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
-
Seed Keyword
Seed Keyword คือ คำคีย์เวิร์ดสั้นๆ ที่มีคนค้นหาเยอะ แต่ว่าอาจจะไม่เจาะจงว่าคนค้นหาสิ่งนี้เพื่ออะไร เช่น รองเท้า, กระเป๋า, เสื้อยืด, โรงแรม, ร้านอาหาร เป็นต้น และด้วยการเป็นคำที่คนค้นหาเยอะ ก็ต้องมีคู่แข่งสูง ทำติดอันดับได้ยาก อีกทั้ง อาจไม่ใช่คีย์เวิร์ดที่นำไปสู่ผลลัพธ์ด้านการขายได้ เพราะเราไม่รู้ว่าคนค้นหาคำนี้ จริงๆ แล้วเขาต้องการอะไร ต้องการซื้อสินค้าหรือเปล่า หรือจริงๆ แค่หารูป เช็กข้อมูล หรืออาจจะเป็นกลุ่มคนที่จะทำธุรกิจแบบเดียวกันก็ได้ คำเหล่านี้เลยไม่มีคนหยิบมาทำเป็นคีย์เวิร์ดหลักหรือ Focus Keyword ในเว็บไซต์เท่าไหร่นัก
-
Longtail Keyword
Longtail Keyword คือ คำค้นหาที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น มีคนค้นหาน้อยกว่า Seed Keyword แต่ว่ามีการบอกรายละเอียดว่าพวกเขาค้นหาเพื่ออะไร เพราะอะไร จึงมีคุณค่ากับธุรกิจมากกว่า และเหมาะจะหยิบมาเป็น Focus Keyword ในการทำเว็บไซต์หรือทำบทความ เช่น
คุณอยากทำหน้าขายสินค้าบนเว็บ E-Commerce เป็นกระเป๋า Longtail Keyword ที่หยิบมาเป็นหมวดหมู่ของสินค้าก็อย่างเช่น กระเป๋าสตางค์ celine, กระเป๋า coach, กระเป๋าสะพายข้าง adidas เป็นต้น ส่วนถ้าอยากจะเก็บ Longtail Keyword ที่ระบุรายละเอียดถึงตัวสินค้ามากขึ้น หรืออยากจะเขียนบทความที่เกี่ยวข้องกับกระเป๋าเหล่านี้ ก็อาจจะใช้เป็นคำค้นหาที่ยาวขึ้น เช่น กระเป๋า guess แท้ดูยังไง, กระเป๋า carlyn ซื้อที่ไหน เป็นต้น
-
LSI Keyword
LSI Keyword คือ คำหรือวลีที่เกี่ยวข้องกับคีย์เวิร์ดหลักที่ช่วยให้ Google เข้าใจในบริบทของเนื้อหาในเว็บไซต์ว่าเกี่ยวข้องกับอะไรมากขึ้น เช่น คนค้นหาคำว่า Apple ในที่นี้มีได้ 2 ความหมายคือ แบรนด์ Apple ที่ขายไอโฟน กับ Apple ที่เป็นผลไม้ แล้ว Google จะรู้ได้ยังไงว่าคนจะหาอะไร
Google จะใช้ LSI Keyword นี่แหละในการคัดแยก โดยดูว่าเรามีการใช้ LSI Keyword ในบริบทแบบไหน แล้วก็เลือกแสดงผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการของคนค้นหา ดูได้จากภาพตัวอย่าง
ถ้าเป็น Apple ที่เป็นบริษัทที่ขายไอโฟน ก็ต้องมี LSI Keyword ที่ช่วยบอกด้วย เช่น Apple iphone, Apple app store เป็นต้น แต่ถ้าเขียนว่าเป็น Apple ที่เป็นผลไม้ LSI Keyword ก็อาจจะเป็น Apple fruit benefits, Fresh Apple Pie Recipe เป็นต้น
-
Buying Keyword
Buying Keyword คือ คำค้นหาเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการ มักเป็นคีย์เวิร์ดที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับคนทำเว็บไซต์ (แต่ส่วนใหญ่ก็มีการแข่งขันที่สูงนะ) โดยมักจะมีคำที่บ่งบอกว่า คนที่ค้นหามักจะมีความต้องการซื้อสินค้าหรือใช้บริการ ยกตัวอย่างเช่น จองที่พัก, ซื้อรองเท้า, ขายคอนโด ราคาไม่แพง, เช่าบ้านริมทะเล เป็นต้น
Keyword ที่ดีเป็นอย่างไร
แล้วจะรู้ได้ยังไงว่า Keyword นั้นดีที่จะหยิบมาทำเป็นคีย์เวิร์ดให้กับเว็บไซต์ AMPROSEO มีเกณฑ์ในการเลือก Keyword ที่ดีมาฝากกัน โดยตัดสินใจเลือกจาก 3 เกณฑ์ ดังต่อไปนี้
-
เป็น SEO Keyword ที่มีความเกี่ยวกับธุรกิจที่ทำอยู่
ควรเลือก Keyword ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ทำอยู่ เช่น คุณธุรกิจขายรองเท้า ก็ควรใช้ Keyword ที่เกี่ยวกับรองเท้าในเว็บไซต์ (ไม่แตกไป Keyword อื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง เช่น อยู่ๆ จะไปเขียนเครื่องโรงแรม คอนโด บัตรเครดิต แบบนี้ก็คงจะไม่ใช่)
เพราะการใช้ Keyword ที่เกี่ยวกับธุรกิจจะช่วยทำให้คนที่เข้ามายังเว็บไซต์มีโอกาสเป็นลูกค้าของคุณได้มากขึ้น นอกจากนี้ ยังทำให้ Google มองว่าคุณเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ ซึ่งตรงกับเกณฑ์ E-A-T Factor ที่ Google ให้ความสำคัญอีกด้วย
-
เป็น SEO Keyword ที่สามารถแข่งขันได้
ควรเลือก Keyword ที่สามารถแข่งขันได้ โดยดูว่าคุณจะสามารถเอาชนะคู่แข่งเพื่อทำอันดับที่ดีกว่าได้หรือไม่ จากการที่วิเคราะห์เว็บไซต์ของคู่แข่ง และหา keyword golden ratio โดยหาจากสูตรนี้
ซึ่งจำนวนผลลัพธ์การค้นหาจะได้จากเลขบนหน้า SERPs ดังภาพตัวอย่างด้านล่าง
ส่วน Search Volume หรือปริมาณคำค้นหาของ Keyword นั้นๆ จะหาได้จากการใช้ Tools ช่วย ซึ่ง น้องฮิปโป สรุปเครื่องมือที่คนนิยมใช้เอาไว้แล้วในหัวข้อ ‘แนะนำโปรแกรมสำหรับใช้หา SEO Keywords’ เลื่อนลงไปอ่านได้เลย
-
เป็น SEO Keyword ที่มีปริมาณคนค้นหาในแต่ละเดือน
ควรเลือก Keyword ที่มีคนใช้งานและมีปริมาณการค้นหาในแต่ละเดือน ไม่ควรเลือกใช้คำที่คิดขึ้นมาเองว่า จะมีคนค้นหา เพราะบางครั้งคำที่คุณคิดอาจจะไม่มีใครเสิร์ชเลยก็ได้ โดยปริมาณการค้นหาก็ควรที่จะไม่น้อยจนเกินไป เพื่อให้คุ้มค่ากับการลงทุนทำบทความ (ซึ่งวิธีการดูปริมาณการค้นหาและวิธีหาเลื่อนลงไปอ่านได้ในหัวข้อต่อไปได้เลย)
วิธีการใช้ SEO Keyword ในบทความ
สำหรับการใช้ Keyword ในบทความนั้นจะคำนึงถึงสิ่งที่เรียกว่า Keyword density ที่เป็นกระจาย Keyword ในปริมาณที่เหมาะสม ให้ทั่วเนื้อหา โดยจะอยู่ที่ 1-2% ของจำนวนคำทั้งหมดของบทความ นอกจากนี้ก็ยังมีตำแหน่งในการวาง Keyword ที่ควรให้ความสำคัญด้วย ไม่ว่าจะเป็น…
- ตำแหน่ง URL คือ slug url ของบทความ โดยควรทำเป็น SEO Friendly URLs
- ตำแหน่ง Title Tag คือ ตำแหน่งของหัวข้อบทความ ควรที่จะมี Focus Keyword อยู่ใน Title Tag 1 จุด
- ตำแหน่ง Meta Description คือ คำอธิบายเนื้อหา โดยควรใส่ Focus Keyword อยู่ในตำแหน่งนี้ด้วยเช่นเดียวกัน
- ตำแหน่ง Heading คือ หัวข้อของบทความ ควรที่จะใส่ Keyword ลงไปอย่างเป็นธรรมชาติ
นอกจากนี้ ควรที่จะทำส่วนประกอบอื่นๆ ที่เป็น SEO On-page ให้สมบูรณ์ด้วย เพื่อให้หน้าเนื้อหามีคุณภาพที่ดีที่สุด เช่น การเขียนในความยาวที่เหมาะสม โดยเขียนไว้ประมาณ 1,000 คำขึ้นไปกำลังดี, ทำ External Link ไปยังเว็บไซต์อื่นที่เกี่ยวข้อง, ทำการเชื่อมโยงเนื้อหาบนเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกันด้วยการทำ Internal Link, ใส่ ALT Text ให้กับรูปภาพ เป็นต้น
วิธีการหา Keyword ทำได้อย่างไรบ้าง
มาถึงส่วนที่หลายคนสงสัยนั่นคือ การหา Keyword ว่าสามารถทำได้อย่างไรบ้าง ลองมาดูเทคนิคที่ AMPROSEO ใช้เป็นประจำเลยดีกว่า
- หาไอเดียของ Keyword
นึกอะไรไม่ออกก็ลองเสิร์ชคำที่คิดว่ากลุ่มเป้าหมายจะใช้ในการค้นหาดูก่อน พิมพ์ Google จะมีการ Suggest คำค้นหาที่คนมักใช้ค้นหามาให้ด้วย ส่วนนี้เราสามารถเก็บมาใช้เป็น Keyword เพิ่มเติมได้เช่นกัน
หรือจะกดเข้าไปดูในคำเหล่านั้น แล้วเลื่อนลงไปดูด้านล่าง ก็จะเห็นว่ามีสิ่งที่เรียกว่า Related searches มาให้ คำเหล่านี้ก็สามารถนำมาใช้วิเคราะห์ Keyword ที่จะใช้ต่อได้ด้วย
หากต้องการหา Search Intent ในรูปแบบของคำถาม Google จะมี Snippets ที่แนะนำว่า ผู้คนถามเกี่ยวกับอะไรเพิ่มเติมใน Keyword นี้บ้าง ก็อาจจะนำมาเป็นไอเดียได้เช่นกัน
- นำ Keyword ไปวิเคราะห์
เมื่อได้ไอเดียของ Keyword มาแล้วก็นำคีย์เวิร์ดไปวิเคราะห์โดยใช้ SEO tools ที่คุณมีให้เป็นประโยชน์ ซึ่งในแต่ละเครื่องมือก็จะมีผลลัพธ์ของการวิเคราะห์คีย์เวิร์ดที่อาจจะหลากหลาย แตกต่างกันไป แต่ผลลัพธ์พื้นฐานที่เราจะใช้ในการวิเคราะห์นั้นจะมีอยู่ไม่กี่อย่าง ให้คุณโฟกัสไปที่สิ่งเหล่านี้เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น…
- Search Volume คือ ปริมาณคำค้นหาในแต่ละเดือน
- Keyword Difficulty (KD) คือ ค่าที่แสดงอัตราการแข่งขันของ Keyword โดยจะบอกว่าแต่ละคำแข่งขันง่ายหรือยาก
- Cost per Click (CPC) คือ ราคาที่ต้องจ่ายต่อคลิก (ใช้สำหรับคนยิง Ads แต่คนทำ SEO ก็ดูได้นะว่ามีคนซื้อแอดเยอะมั้ย ถ้ามีเยอะก็น่าจะเป็น Keyword สำคัญ)
- Trend คือ ค่าเฉลี่ยที่แสดงผลเป็นกราฟให้เห็นว่าเทรนด์การค้นหาเป็นอย่างไร โดยดูเพื่อวิเคราะห์ว่าควรทำ Keyword นี้ช่วงไหน จะสำคัญสำหรับคีย์เวิร์ดที่มีเทรนด์การค้นหาเฉพาะบางเวลาในแต่ละปี เช่น คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวกับเทศกาล อย่าง กระเช้าปีใหม่ ของขวัญให้แฟนวาเลนไทน์ เป็นต้น
- จัดลำดับความสำคัญขอคีย์เวิร์ด
เมื่อได้ Keyword จำนวนหนึ่งมาแล้ว ก็ต้องมาจัดลำดับความสำคัญว่า ควรจะทำ Keyword แบบไหนก่อน โดย น้องฮิปโป SEO จะแนะนำให้ทำ Keyword ที่มีปริมาณการค้นหาประมาณหนึ่งแต่มีการแข่งขันที่ไม่สูงมากก่อน เพราะจะช่วยดัน Traffic ให้กับเว็บไซต์ และทำให้คนรู้จักเว็บไซต์มากขึ้น แล้วค่อยไปเก็บคีย์เวิร์ดอื่นที่ยากกว่า คู่แข่งเยอะกว่าต่อ
แนะนำโปรแกรมสำหรับใช้หา SEO Keywords
รู้วิธีการหาไปแล้ว น้องฮิปโป ก็ขอแนะนำโปรแกรมที่ใช้สำหรับหา SEO Keywords บ้าง โดยในที่นี้จะรวบรวมมาให้ทั้งตัวฟรีและเสียเงินเลย ดังนี้
- Google Trend
Google Trend คือ เครื่องมือฟรีที่ใช้สำหรับการหาเทรนด์ของ Keyword จาก Google ปกติจะใช้ดูเทรนด์ว่ามีคนค้นหาคำนั้นๆ ในรูปแบบไหน มีเทรนด์เพิ่มขึ้นหรือลดลงหรือไม่ เพื่อตัดสินใจว่า Keyword นั้นๆ จะยังเป็นที่นิยมหรือเปล่า และยังจำเป็นสำหรับสาย E-Commerce ด้วยว่า จะนำสินค้านั้นๆ เข้ามาขายและทำอันดับ SEO ดีหรือไม่อีกด้วย
- Google Keyword Planner
Google Keyword Planner คือ เครื่องมือฟรีที่สามารถใช้ในการวิเคราะห์ Keyword ได้ แต่โดยปกติมักใช้สำหรับวิเคราะห์ Keyword สำหรับยิง Google Ads แต่สาย SEO ก็สามารถเข้าไปใช้งานฟรีได้เช่นเดียวกัน แต่หน้าตาของเครื่องมือจะแตกต่างกันเล็กน้อย เพราะถ้าคุณไม่ยิงแอด Search Vloume ที่เห็นจะไม่ใช่ปริมาณการค้นหาที่เป็นตัวเลขเหมือนในรูปภาพตัวอย่าง แต่จะเป็นช่วงของปริมาณการค้นหา เช่น 0-100, 100-1,000 เป็นต้น
- Ahrefs
Ahrefs คือ SEO Tools แบบเสียเงินที่ใช้สำหรับนักทำ SEO มืออาชีพ เพราะใช้ทำได้หลายอย่าง เช่น
-
- วิเคราะห์ Keyword ซึ่งดูได้ว่าคีย์เวิร์ดนี้คนค้นหาเท่าไหร่ มีเทรนด์การค้นหาเป็นแบบไหน ใครติดอันดับในคำนี้บ้าง และคู่แข่งมี Performance อย่างไร
- วิเคราะห์เว็บไซต์คู่แข่ง ซึ่งในแง่ของการทำ Keyword เราสามารถดูได้ว่า คู่แข่งทำคีย์เวิร์ดอะไรบ้าง ติดอันดับที่เท่าไหร่ และติดในหน้าใด
- ติดตามผลการทำอันดับของเว็บไซต์ โดยการ Tracking เว็บไซต์และ Keyword ที่ทำอันดับอยู่ได้เอง
- Ubersuggest
Ubersuggest คือ SEO Tools ที่ใช้ได้ทั้งรูปแบบฟรีและแบบเสียเงิน แต่ในรูปแบบฟรีจะมีข้อจำกัดคือ เห็นข้อมูลไม่ครบ และใช้งานได้ต่อวันได้แค่วันละ 5 ครั้ง และมีให้เราทดลองใช้ฟรีได้ 7 วัน โดยสามารถใช้งานวิเคราะห์คีย์เวิร์ดได้ ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย นอกจากนี้ก็มีฟีเจอร์อื่นๆ ที่ช่วยในการทำ SEO ด้วย เช่น หาไอเดีย Keyword, ดู Backlink เป็นต้น
สรุป
สรุปแล้ว SEO Keywords คือ การใช้คำค้นหาที่คนเสิร์ชกันบน Search Engine มาใช้ปรับปรุง On-page เพื่อทำอันดับบนหน้า Google ให้มีคุณภาพและถูกใจ Google มากขึ้นนั่นเอง น้องฮิปโป ก็ทำการบอกถึงวิธีการเลือกและการหาให้ครบหมดแล้ว ก็หวังว่า ทุกคนจะนำไปลองทำตามหรือปรับใช้จากเทคนิคเดิมดูได้ สำหรับวันนี้ก็ขอตัวลาก่อน ไว้รอบหน้า น้องฮิปโป จะหาความรู้เกี่ยวกับการทำ SEO มาฝากอีกนะ บ๊ายบายค่าาา~