วิธีทำ SEO

การทำ Search Engine Optimization หรือ SEO คือ วิธีการที่ช่วยให้คนทำเว็บไซต์สร้างโอกาสในการเพิ่ม Traffic, เพิ่ม Brand Awareness ไปจนถึงเพิ่ม Conversion จากการที่เว็บไซต์สามารถทำอันดับได้ดีบนหน้า SERP บน Search Engine อย่าง Google แต่สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นการทำ SEO ดูเหมือนจะเป็นเกมการตลาดที่ยุ่งยาก ใช้เวลาและความอดทนมากๆ กว่าจะเห็นผลลัพธ์ แถมถ้าลองผิดลองถูกเองก็ดูเหมือนจะเสียเวลาหนักคูณสอง

ดังนั้น ในฐานะที่ AMPROSEO อยู่ในวงการนี้มาพอสมควร ได้ลองจับเว็บไซต์หลายแบบ หลายธุรกิจมาทำ SEO แล้วได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ เลยอยากที่จะช่วยให้เพื่อนๆ ไม่ต้องลองผิด แต่ได้ลองทำในสิ่งที่ถูกต้องจากแนวทางที่ AMPROSEO จะสรุปมาให้ในบทความนี้ว่าวิธีการทำ SEO สำหรับมือใหม่ ถ้าเริ่มต้นจาก 0 ต้องรู้อะไรและทำอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วตามไปดูพร้อมกันเลยนะ

รู้ก่อน Google ให้ความสำคัญกับอะไร

ถ้าพูดถึง Search Engine นั้นมีมากมายหลายตัว แต่ถ้าที่บ้านเรานิยมทำอันดับแข่งขันกันก็ต้องยกให้ Google ดังนั้น ในบทความนี้จึงจะเน้นไปที่การทำ SEO บน Google เป็นหลัก และก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนว่า Google นั้นให้ความสำคัญกับอะไรและใช้อะไรในการพิจารณาให้เว็บไซต์ติดอันดับบนที่ดีบ้าง

E-E-A-T Factor

E-E-A-T Factor

ที่มาภาพ: www.portent.com

E-E-A-T Factor คือ ปัจจัยที่ Google ใช้ในการระบุคุณภาพของเว็บไซต์ ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ

  • Experience (ประสบการณ์) สร้างเนื้อหาว่ามีประสบการณ์โดยตรงหรือประสบการณ์จริงในเนื้อหาที่เขียน เช่น เขียนรีวิวก็ต้องเคยใช้สินค้านั้นมาก่อน, เขียนสูตรอาหารก็ควรเคยทำอาหารนั้นมาก่อน
  • Expertise (ความเชี่ยวชาญ) ให้คำตอบกับผู้อ่านด้วยความเชี่ยวชาญของผู้เขียนในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และโครงสร้างเว็บไซต์ที่ดี
  • Authoritativeness (การมีอำนาจอิทธิพล) ได้รับ Backlink ที่มีคุณภาพจากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
  • Trustworthiness (ความน่าเชื่อถือ) ลงบทความที่เขียนเองไม่ลอกจากใครอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงใส่ช่องทางการติดต่อที่ชัดเจนเอาไว้ในเว็บไซต์ด้วย

Core Web Vitals

Core Web Vitals

ที่มาภาพ: blog.chromium.org

Core Web Vitals คือ เครื่องมือวัดผลด้านประสบการณ์ผู้ใช้งาน หรือ User Experience (UX) โดยจะประเมินว่า เว็บไซต์ของคุณโหลดช้าหรือเปล่า เปลี่ยนหน้าลำบากไหม เข้าใช้งานได้ปกติแค่ไหน ซึ่งองค์ประกอบหลักที่จะใช้ดูจะมี 3 ส่วนคือ

  • Largest Contentful Paint (LCP) คือ ความเร็วของการโหลดเนื้อหาบนเว็บไซต์ที่ควรทำให้ได้อยู่ในมาตรฐานโดยใช้เวลาไม่เกิน 2.5 วินาทีสำหรับคอนเทนต์ที่ใหญ่ที่สุด และหากเกิน 4 วินาทีไปก็จะนับว่าแย่ที่สุด
  • Cumulative Layout Shift (CLS) การวัดผลความคงที่ขององค์ประกอบที่แสดงผลบนหน้าจอ คะแนนนี้ไม่ควรเกิน 0.1 หรือแบบแย่สุดก็ไม่ควรเกิน 0.25
  • First Input Delay (FID) คือ วัดผลเวลาที่ User มีการทำ action อะไรบางอย่างกับเว็บไซต์ แล้วดูว่าเว็บไซต์ตอบสนองได้เร็วแค่ไหน

วิธีการทำ SEO แบบเริ่มต้นจาก 0

คราวนี้มาเรียนรู้วิธีการทำ SEO กันเลยดีกว่า โดยเราจะขอแยกการทำ SEO ออกเป็น 3 ส่วน นั่นคือ On-Page SEO, Off-Page SEO และ Technical SEO มาดูว่าแต่ละส่วนมีขั้นตอนการทำ SEO ยังไงบ้าง ดังนี้

On-Page SEO

On-Page SEO คือ การทำอะไรก็ตามที่เห็นได้บนหน้าเว็บไซต์ให้ตอบโจทย์การทำ SEO และแน่นอนว่าถ้าทำได้ดีก็จะช่วยทำให้ Google จัดอันดับเว็บไซต์ของคุณไปอยู่ในตำแหน่งที่ดีด้วย ซึ่งถ้าให้พูดเป็น Step ว่าคุณจะต้องทำอะไรก่อน-หลังบ้าง ให้เริ่มจาก…

  • การทำ Keyword Research

Keyword Research คือ การค้นหา Keyword ที่มีคนค้นหา เกี่ยวข้องกับธุรกิจ และเป็น Keyword ที่คุณจะต้องทำการแข่งขันได้มาใช้ในการเขียนบทความ หรือทำ Landing Page ของเว็บไซต์  หากคุณทำได้ดี Google ก็จะนำเว็บไซต์ของคุณจัดอันดับไปอยู่ในอันดับต้นๆ ของ Keyword ที่คุณเลือก แน่นอนว่า คุณจะได้ Traffic เข้าเว็บไซต์ ไปจนถึงได้ Conversion กลับมาด้วย

สำหรับวิธีการทำ Keyword Research จะต้องใช้เครื่องมือ SEO ในการวิเคราะห์ เช่น Ubersuggest, SE Rank, Ahrefs, Google Keyword Planner ฯลฯ มาใช้ในการค้นหา Keywod มาดูตัวอย่างการใช้งานกันสักเล็กน้อย กันดีกว่า โดยจะขอยกตัวอย่างจาก Ahrefs ดังนี้

  1. เมื่อคุณเข้าไปที่เว็บไซต์ Ahrefs ให้เลือก keywords explorer แล้วทำการพิมพ์คำที่ต้องการรู้ Search Volume หรือปริมาณการค้นหาว่ามีอยู่ที่เท่าไหร่ (อย่าลืมเลือกด้วยว่าว่าหาปริมาณการค้นหาของ Keyword นี้ในประเทศอะไร) แล้วกดค้นหา
    การทำ Keyword Research
  2. อย่างเช่น คุณทำธุรกิจเกี่ยวกับการรักษาสิว Keyword ที่เลือกหาก็อาจจะเป็นคำว่า สิว จะเห็นว่าคำว่าสิวจะมีปริมาณผลการค้นหาเฉลี่ยในประเทศไทยอยู่ที่ 12,000 ซึ่งคุณก็สามารถใช้เครื่องมือแตกหา Long tail Keyword ที่เกี่ยวข้องกับสิวเพิ่มเติม เพื่อนำมาทำคอนเทนต์ได้ด้วย

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า Keyword นั้นดีและเหมาะจะหยิบมาทำ?

อย่างที่บอกแล้วว่า Keyword จะต้องมีคนค้นหา อย่างคำว่า สิว ก็เป็นคำที่มีคนค้นหา และแน่นอนว่าเกี่ยวข้องกับธุรกิจ เพราะคุณทำคลินิกรักษาสิว แต่คุณจะทำการแข่งขันได้มั้ยนั้น ต้องดูสิ่งที่เรียกว่า Keyword Difficulty (KD) คือ ความยากง่ายในการแข่งขันคีย์เวิร์ดคำนี้ ยิ่งมีค่าสูงมาก ก็ยิ่งแข่งขันยากประกอบด้วย (อย่าง  Ahrefs ก็จะโชว์เอาไว้ที่กล่องซ้ายมือตามภาพด้านบน)

  • วางแผนเขียนบทความ SEO

บทความ SEO คือ เทคนิคการเขียนบทความให้ติดหน้า Google โดยจะมีองค์ประกอบสำคัญๆ หลายอย่างด้วยกันที่คุณจะต้องโฟกัส ดังนี้

    • เขียนให้ตรงกับ Search Intent หรือ เจตนาของผู้ใช้ โดยต้องรู้ก่อนว่าคนค้นหาคำนั้นเพราะอะไร เพื่ออะไร เช่น ค้นหาเพื่อหาข้อมูล, เพื่อจะตัดสินใจซื้อสินค้า, เพื่อที่จะเปรียบเทียบ ฯลฯ จะได้เขียนเนื้อหาของบทความให้ออกมาตรงกับสิ่งที่พวกเขาค้นหา ซึ่งจะช่วยเพิ่มยอด Traffic ให้เว็บไซต์ได้มากขึ้นด้วย
    • เขียนคอนเทนต์โดยใช้ Heading Tag คือ การเขียนโดยเรียงลำดับหัวข้อจาก H1, H2, H3, H4,… ไปเรื่อยๆ ตามลำดับความสำคัญของหัวข้อ ไม่ใช้ Heading กระโดดไปมา ก็จะช่วยทำให้ SEO รู้ว่าหัวข้อไหนสำคัญที่สุด หัวข้อไหนสำคัญรองลงมา
    • เขียนคอนเทนต์ให้มีคุณภาพทั้งด้านเนื้อหาและความยาวของเนื้อหา ซึ่งโดยปกติบทความ SEO จะเขียนกันอยู่ที่ 1,000 คำขึ้นไป
    • เขียนให้ไม่เกิน Keyword Density ที่กำหนด เพราะ Keyword Density หมายถึง การกระจายตัวของกลุ่ม Keyword ในบทความ หากใส่ Keyword มากไป Google อาจมองว่าเป็นสแปมได้ จึงควรเขียนให้มีจำนวน Keyword ที่เหมาะสม และกระจายตัวอยู่ทั่วทั้งบทความ ซึ่งจำนวน Keyword ที่ดีนั้นไม่ควรเกิน ประมาณ 3-4 % ต่อความยาว 1,500 คำ
    • ใส่รูปภาพหรือวิดีโอ เพราะ Google ชอบที่จะเห็นเว็บไซต์ที่มีสื่อที่หลากหลาย รวมถึงในสื่อเหล่านี้ควรใส่ ALT Text เข้าไปด้วย เพื่อที่ทำให้ Google รู้ได้ว่ารูปที่ใส่ไปเป็นรูปอะไร และมีโอกาสที่รูปนั้นจะติด Image Search ของ Google ได้ด้วย
    • ใส่ Internal Link ซึ่งเป็นการทำลิงก์เชื่อมโยงถึงหน้าที่เกี่ยวข้องกันในเว็บไซต์ เพื่อให้ Google รู้ว่าแต่ละหน้าในเว็บไซต์เกี่ยวข้องกันอย่างไรบ้าง
    • ใส่ External Link ไปยังหน้าเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ เพื่อทำให้ Google รู้ว่าเนื้อหาเราเกี่ยวกับอะไร
  • เขียน Title และ Description ที่เหมาะสม

วางแผนเขียนบทความ SEO เขียน Title และ Description ที่เหมาะสม

นอกจากเนื้อหาในบทความแล้วก็อย่าลืมเขียน Title Tag คือ การเขียนชุดคำสั่ง Code HTML เพื่อบ่งบอกให้กับทาง Google ทราบว่า เนื้อหาเราเกี่ยวข้องกับอะไร แต่ถ้าคุณใช้ CMS อย่าง WordPress ก็จะสามารถเขียน Title ลงไปได้เลย โดยความยาวของ Title ไม่ควรที่จะยาวเกิน 50-60 ตัวอักษร และควรที่จะใส่ Keyword ที่เขียนในบทความลงไปใน Title ด้วย

ส่วน  Meta Descriptions คือ ข้อความสรุปเนื้อหาหรือคำอธิบายสั้นๆ ที่จะเห็นปรากฏอยู่ใต้ Title บนหน้า SERP ซึ่งการเขียน Description ที่ดีควรที่จะมีความยาวอยู่ที่ 150 – 154 ตัวอักษร และควรที่จะเขียน Keyword ลงไปใน Description ด้วย

  • ทำ URL ให้ Friendly กับ Google

Url friendly คือ การทำ URL ให้สื่อความหมายและเข้าใจง่ายขึ้นสำหรับผู้ใช้งาน โดยลักษณะของ URL ควรที่จะเขียนให้อ่านได้ สั้น กระชับ และอาจจะใส่ Keyword ที่ใช้ลงไปใน URL ด้วย ตามตัวอย่างในภาพ

ทำ URL ให้ Friendly กับ Google

ที่มาภาพ: seosherpa.com

Off-Page SEO

Off-Page SEO คือ กลยุทธ์การสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ด้วยการเพิ่มค่า Domain Authority จากการทำ Backlink ที่มีคุณภาพกลับมายังเว็บไซต์ ซึ่งการจะได้ Backlink ที่ดีและมีคุณภาพกลับมานั้นสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน คือ

  • ทำคอนเทนต์ดีๆ และมีประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ จนได้รับการอ้างอิงจากเว็บไซต์อื่นๆ โดยธรรมชาติ
  • การทำ PBN คือ Private Blog Network sหรือเว็บบล็อกส่วนตัว แล้วนำเว็บบล็อกเหล่านั้นอ้างอิงถึงเว็บไซต์หลักของคุณ
  • การทำ Guest Post คือ การขอพื้นที่เว็บไซต์อื่นๆ เพื่อลงบทความ อาจจะทำในแนวขอไปสปอนเซอร์หรือใช้วิธีการเป็น Guest ที่ทำคอนเทนต์คุณภาพให้กับเว็บไซต์นั้นๆ แล้วพูดถึงเว็บไซต์ของคุณเพิ่มเติมแล้วทำ Backlink กลับมาเพิ่มเติมก็ได้
  • ขอแลก Backlink กับเว็บไซต์อื่นๆ

จากวิธีทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ทำให้เว็บไซต์ของคุณได้ Backlink กลับมา แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุก Backlink จะดีสำหรับคุณที่สุด การทำ Backlink ที่มีคุณภาพและช่วยดันอันดับบนหน้า Google ได้ จริงๆ แล้วควรจะเป็น Backlink ที่มาจากเว็บไซต์ที่มี DA สูงๆ เป็นเว็บไซต์ที่ยังคง Active อยู่อย่างสม่ำเสมอ และควรเป็นเว็บไซต์ที่อาจจะทำในอุตสาหกรรมเดียวกันกับคุณ ก็จะยิ่งช่วยทำให้ Backlink ที่ได้กลับมาดีต่อสายตาของ Google ด้วย

แล้วจะเช็กได้จากไหนว่า Backlink จากที่ไหนถึงจะดี?

อาจจะลองใช้ SEO Tool ในการช่วย เช่น Backlink Checker ของ Ahrefs ที่สามารถนำเว็บไซต์ต่างๆ ไปเช็ก Backlink รวมถึงคุณภาพของเว็บไซต์ด้วยตัวเองได้เลย

Off-Page SEO

Technical SEO

Technical SEO จะหมายถึงเรื่องเทคนิคอื่นๆ ที่คุณจะต้องรู้และลงมือทำ โดยจะมีรายละเอียดอะไรบ้างตามไปดูพร้อมกันเลยดีกว่า

  • การทำ Sitemap

Sitemaps คือ แผนที่เว็บไซต์ เป็นเหมือนสิ่งที่ใช้บอก Google ว่าเว็บไซต์ของคุณนั้นมีอะไรอยู่ที่ไหนบ้าง มีหน้าเว็บไซต์กี่หน้า และแต่ละหน้าเกี่ยวข้องกันยังไง โดยคุณจะต้องทำการสร้าง Sitemap ขึ้นมาแล้วส่งให้กับทาง Google เข้าไปตรวจสอบ ซึ่งวิธีการส่ง Sitemaps จะส่งผ่าน Google Search Console ให้เข้าไปที่เว็บไซต์ Google Search Console ทำการพิมพ์ ชื่อโดเมน/sitemap_index.xml แล้วทำการกด Submit **เรื่องนี้เป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องส่งนะ เพราะไม่อย่างนั้นหน้าบางหน้าอาจจะตกสำรวจจาก Google ได้

Technical SEO การทำ Sitemap

ที่มาภาพ: www.reliablesoft.net

  • ทำการสร้างไฟล์ Robots.txt

อีกเรื่องที่สำคัญและต้องทำเลยก็คือ การสร้างไฟล์ Robots.txt คือ การเขียนสคริปต์บอกบอท (Bot) ว่าหน้าไหนที่ต้องการให้เข้าไปเก็บข้อมูลบ้าง เพื่อให้บอทเข้าไปเก็บข้อมูลได้อย่างแม่นยำมากขึ้นนั่นเอง ซึ่งใครที่ใช้ CMS ต่างๆ เช่น WordPress Wix Joomla Shopify ฯลฯ สามารถใช้ Plug-in ในการสร้างไฟล์ได้เลย แต่ถ้าเขียนเว็บไซต์ขึ้นมาเองจะต้องนำไฟล์ Robots.txt ใส่เข้าไปในเว็บ Hosting โดยจะต้องสร้างโฟลเดอร์ไว้ใน /public_html/

ใครที่ไม่แน่ใจว่าทำยังไงลองเข้าไปดูวิธีการและขั้นตอนต่างๆ ในบทความนี้ได้เลย >> Robots.txt คืออะไร ทำไมต้องทำ สำคัญกับการทำ SEO อย่างไร [ดูวิธีทำและคำแนะนำแบบละเอียด]

  • การทำ Redirect 301

การทำ Redirect 301 คือ การแก้ปัญหาเว็บไซต์ด้วยการเปลี่ยนเส้นทางของ URL ใช้สำหรับเว็บไซต์ที่อาจจะทำเว็บไซต์ใหม่แล้วทำการเปลี่ยนโครงสร้าง URL ในหน้าต่างๆ ใหม่ หรือใช้สำหรับลบหน้าเว็บไซต์นั้นๆ ทิ้งไป ซึ่งถ้าไม่ทำการ Redirect 301 หน้านั้นจะกลายเป็นหน้า 404 not found นั่นเอง

ซึ่งการทำ Redirect 301 จะทำได้ยังไง ดูวิธีการได้เลยที่ Redirect 301 คืออะไร ทำไมต้องทำ ดูวิธีป้องกันอันดับตกด้วยการ Redirect

ติดตามผลการทำ SEO

นอกจากการลงมือทำ SEO ตามขั้นตอนที่ AMPROSEO บอกแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ การติดตามผลการทำ SEO ของคุณว่ามีความคืบหน้ายังไงบ้าง โดยจะต้องพึ่งพาเครื่องมืออย่าง Google Analytics และ Google Search Console เพิ่มเติม

ติดตามผลการทำ SEO

โดย Google Analytics จะใช้สำหรับดู Performance ในเว็บไซต์ได้แบบภาพรวมได้ ทั้งจำนวน User, ช่องทางที่คนเข้ามา ไปจนถึงบอกด้วยว่าเกิด Conversion เท่าไหร่

Google Analytics จะใช้สำหรับดู Performance ในเว็บไซต์ได้แบบภาพรวม

แต่ถ้าจะ Tracking ช่องทางที่เป็น Organic Search พร้อมดูด้วยว่า Keyword แต่ละ Keyword ที่ทำนั้นอยู่อันดับที่เท่าไหร่ มีคนคลิกมาเท่าไหร่ รวมถึงมี Impression เท่าไหร่บ้าง ก็ต้องใช้งาน Google Search Console เพราะนี่คือ เครื่องมือที่ช่วยให้คนทำการปรับปรุงอันดับของ Keyword ได้ดีมากขึ้น

สรุป

สำหรับใครที่กำลังเริ่มต้นเข้าสู่โลก SEO ความสำเร็จในการทำอันดับนั้นขึ้นอยู่กับความรู้และความพร้อมในการลงมือทำ ดังนั้น ถ้าคุณเริ่มลงมือแล้วลองทำตามคำแนะนำของ AMPROSEO ในบทความนี้ตั้งแต่ตอนนี้ รับรองว่าจะช่วยทำให้เว็บไซต์ของคุณมีโอกาสทำอันดับบน Google ได้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น แบบไม่ต้องไปลองผิดลองถูกเองอย่างแน่นอนเลยล่ะ

เขียนโดย: น้อง Hippo
น้อง Hippo
บล็อกนี้ เป็นแหล่งรวมความรู้ SEO และการตลาดออนไลน์ที่ครบครันที่สุด อ่านแล้วนำไปใช้ได้จริง พัฒนาทักษะของคุณให้เติบโต