Core Web Vitals
การทำ SEO ในตอนนี้เรียกว่าต้องวางแผนกันทั้งเว็บไซต์ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดออกมาจริงๆ เพราะตอนนี้การจัดอันดับเริ่มเก็บข้อมูลอย่างรอบด้านครอบคลุมไปทีละส่วน และเมื่อปี 2021 ที่ผ่านมานี้ Google ยังได้ออกประกาศกล่าวถึงเครื่องมือใหม่ที่ใช้ในการจัดอันดับ นั่นก็คือ Core Web Vitals
หากพูดกันตามตรงแล้ว Core Web Vitals ไม่นับเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนทำเว็บไซต์ แต่กฎใหม่ที่ Google เพิ่มเข้ามาใน Core Web Vitals ไม่นานนั้นก็มีบทบาทที่สำคัญมากพอที่นักทำ SEO จะต้องให้ความสำคัญ เพราะ Google จะให้ประสบการณ์ของ User ในการใช้งานเว็บไซต์ที่สามารถพบช่องทางจากการค้นหาบน Google ได้อย่างประทับใจตั้งแต่ต้นจนจบมากยิ่งขึ้น
พอบอกแบบนี้ AMPROSEO ก็คิดว่า หลายคนคงอยากทำความรู้จักกับ Core Web Vitals กันแล้ว ซึ่ง Core Web Vitals คืออะไร มีประโยชน์ในรูปแบบไหน และจะต้องทำยังไงให้ถูกใจ Google ด้วยกฎนี้ได้บ้างนั้น ตามไปดูกันเลยนะ พร้อมกันยัง
Core Web Vitals คืออะไร
ถ้าให้อธิบายเข้าใจง่ายๆ Core Web Vitals คือ เครื่องมือตัวหนึ่งที่ Google สร้างขึ้นเพื่อใช้วัดผลด้าน User Experience (UX) หรือประสบการณ์ใช้งานเว็บของผู้ใช้ และผลที่ได้จะนำมาใช้เป็นอีกเกณฑ์หนึ่งในการจัดอันดับ SEO บนหน้าค้นหา
โดยตัวเกณฑ์ Core Web Vitals จะถูกนับเป็นเพียงส่วนหนึ่งของ Page Experience เพราะจะรวมเพียงแค่ Largest Contentful Paint (ความเร็วในการโหลดเว็บ), First Input Delay (ความเร็วในการตอบสนอง) และ Cumulative Layout Shift (ความเสถียรในการใช้งาน) ซึ่งจะมีหน้าที่สำหรับการประเมิน Page Speed ของเว็บไซต์เป็นหลัก
Core Web Vitals เกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำ SEO
หลายคนอาจจะรู้แล้วว่า ตัว Core Web Vitals นั้นมีการเริ่มต้นจัดอันดับ SEO บนมือถือก่อน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2021 แล้ว Google ค่อยนำมาใส่เพิ่มเข้าในเวอร์ชัน Desktop ตอนเดือนกุมภาพันธ์ 2022 แล้วก็ใช้กันมาตลอดจนถึงตอนนี้
โดยเจ้าตัวความเร็วต่างๆ ที่ได้จากการประเมินตามเกณฑ์ Core Web Vitals นั้นมันมีส่วนช่วยสร้างความประทับใจและประสบการณ์ดีๆ ให้กับ User (User Experience) ได้ ทำให้แก้ปัญหาการใช้งานของ User ที่มักจะเจอบ่อยๆ เช่น เว็บไซต์โหลดช้า เข้าไม่ได้ เปลี่ยนหน้าลำบาก ไปจนถึงอ่านไปอ่านมาหน้าเว็บโหลดใหม่อะไรแบบนั้น
Google เองก็สร้างเจ้าตัว Core Web Vitals ขึ้นมาให้เป็นตัวประเมินอย่างหนึ่งก็เพราะว่าไม่อยากให้เว็บที่ตัวเองเลือกมาจัดอันดับสร้างความผิดหวังด้วยเรื่องน่าเจ็บใจแบบนี้ไงล่ะ และแน่นอนว่า มันส่งผลต่อการจัดอันดับของ Google เนื่องจากเว็บไซต์ที่จะได้ Ranking ดีๆ บนหน้า SERPs ก็จะต้องทำเว็บไซต์ให้ตรงกับตามเกณฑ์นี้ให้ได้ด้วยยังไงล่ะ
องค์ประกอบของ Core Web Vitals
อย่างที่เรารู้กันว่าตัว Core Web Vitals เนี่ย เป็นส่วนหนึ่งของ Page Experience ที่วัดเอาประสบการณ์การใช้งานเว็บมาเป็นหลัก ดังนั้น เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น น้องฮิปโป จะอธิบายให้ฟังนะว่า 3 ตัวของ Core Web Vitals นั้นคืออะไร มีอะไรเป็นองค์ประกอบบ้าง ไปทำความรู้จักกันเลยนะเจ้าฮะ
Largest Contentful Paint (LCP) คืออะไร?
Largest Contentful Paint(LPC) หรือ ความเร็วในการโหลดเว็บ คือ ความเร็วของการโหลดเนื้อหาบนเว็บไซต์โดยนับจากจุดสำคัญเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ ตัวหนังสือ คลิปวิดีโอ พวกนี้จะนับทั้งหมด แต่ตามปกติแล้วพวกรูปภาพหรือคลิปวิดีโอจะใช้เวลาโหลดที่นานกว่าตัวหนังสือ
ดังนั้น หากจะวัดความต่างกันก็มักดูที่ตรงนี้แหละ หากโหลดช้า คะแนนด้าน LCP ก็จะลดลงตามไปด้วย ซึ่ง Google ได้กำหนดเวลาเอาไว้เป็นมาตรฐานให้เลยว่าควรใช้เวลาไม่เกิน 2.5 วินาทีสำหรับคอนเทนต์ที่ใหญ่ที่สุด และหากเกิน 4 วินาทีไปก็จะนับว่าแย่ที่สุด
Cumulative Layout Shift (CLS) คืออะไร?
Cumulative Layout Shift (CLS) หรือความเสถียรในการใช้งาน คือ การวัดผลดูเรื่องความคงที่ของตำแหน่งองค์ประกอบที่แสดงผลบนหน้าจอเช่น ตัวหนังสือ ปุ่มกด รูปภาพ แบนเนอร์อะไรแบบนี้มันขยับเลื่อนขึ้นลงไหม หรือเวลากดแล้ว User ได้สิ่งที่ต้องการหรือเปล่า ไม่ใช่จะกดอ่านแต่กลายเป็นกดออก อะไรแบบนั้น
ซึ่งการวัดผลตรงนี้ น้องฮิปโป บอกเลยว่าเขาจะดูกันใน 5 วินาทีแรกว่ามันจะเสถียรไหม แต่หากพูดเรื่องการวัดผลจริงๆ จะให้เป็นคะแนนเรื่องการขยับมากกว่าว่าไปไกลไหม ซึ่งคะแนนนี้ไม่ควรเกิน 0.1 หรือแบบแย่สุดก็ไม่ควรเกิน 0.25
First Input Delay (FID) คืออะไร?
First Input Delay (FID) หรือความเร็วในการตอบสนอง ส่วนนี้ก็จะเป็นการวัดผลเวลาที่ User มีการทำ action อะไรบางอย่างกับเว็บไซต์แล้วเว็บไซต์มีการตอบสนองให้เร็วแค่ไหน
ก็อย่างเช่น การกดเลื่อนหน้า กดแล้วเปลี่ยนเลยไหม หรือว่าโหลดช้า แบบนี้ Core Web Vitals ก็จะให้คะแนนน้อยลง Google จะนำไปประเมินผลจัดอันดับการค้นหาต่อไป โดย FID นี้จะมีหน่วยเป็นวินาทีเหมือนกับ LCP ก็คือหากใช้เวลาราว 0.1 วินาทีจะได้สีเขียวซึ่งแปลว่าดี แต่ถ้าช้ากว่า 0.3 วินาทีจะนับว่าเป็นสีแดงก็คือแย่ นั่นเอง
ตรวจสอบ Core Web Vitals ได้อย่างไร
Core Web Vitals สามารถเช็คได้ไม่ยากเลย เพราะตัววัดนี้ที่ Google ออกมาใหม่ก็ยังได้เตรียมเครื่องสำหรับวัดผลเอาไว้แล้วถึง 2 ตัวด้วยกัน นั่นคือ Google Page Speed Insight และ Google Search Console สามารถเลือกใช้ได้ตามสะดวก มาดูกันว่าเป็นอย่างไรบ้างนะเจ้าฮะ
Google Page Speed Insight
เว็บไซต์นี้เป็นหนึ่งในเว็บที่ใช้วัด Core Web Vitals หรือความเร็วในการใช้เพจได้สะดวกและง่ายมากที่สุด เพียงแค่ใส่ URL ลงไปก็สามารถแสดงผลขึ้นมาได้เลยว่าผ่านหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นทางช่อง Mobile หรือ Desktop ก็สามารถใช้งานได้ทั้งคู่ ซึ่งการวัดผลจะวัดย้อนไปในระยะ 28 วันจากการใช้งานเว็บจริง
Google Search Console
สำหรับเครื่องมือตัวนี้ ใครที่ทำ SEO น่าจะคุ้นเคยกันดี โดยตัววัด Core Web Vitals ของเครื่องมือตัวนี้จะอยู่ทางแถบด้านซ้ายเขียนว่า Page Experiences แล้วเลือก Core Web Vitals
ซึ่งจะวัดผลของเว็บเราโดยอัตโนมัติอยู่แล้วไม่ต้องใส่ URL สามารถดูผลได้ทั้ง Mobile และ Desktop เช่นเดียวกัน ใครที่ใช้ Google Search Console อยู่แล้วก็นับว่าสะดวกสำหรับการตรวจเช็คได้เลย เพราะตัวนี้จะบอกคะแนนทุก URL ในเว็บและแบ่งแยกตามสี
จะปรับปรุง Core Web Vitals ให้ดีขึ้นได้ยังไงบ้าง
หากลองสังเกตดูเรื่องของ Core Web Vitals เป็นเรื่องของความเร็วเสียส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการตอบสนองเร็วพอไหม การโหลดเนื้อหาเร็วพอไหมหรือเว็บเสถียรเร็วพอหรือเปล่า ซึ่งเรื่องเหล่านี้ก็มีเหตุและผลที่เราสามารถทำการแก้ไขได้ไม่ยากนัก
เริ่มต้นที่การเลือก Hosting
ก่อนที่จะเริ่มทำเว็บไซต์หรืออาจจะเริ่มต้นมาแล้วทุกคนต้องรู้ก่อนเลยว่าลักษณะของเว็บจะเหมาะสำหรับการเลือก Hosting แบบไหน
เพราะการเลือกเซิร์ฟเวอร์ที่ดีและเข้ากับเว็บสามารถช่วยเหลือด้านการโหลดใช้งานของ User ได้ แบบว่าทำให้มันเร็วขึ้น ลื่นขึ้นไงล่ะ ทั้งยังไม่สิ้นเปลืองต้นทุนโดยไม่จำเป็นด้วย สำหรับการเลือกโฮสต์นี้จะสามารถช่วยปรับ Core Web Vitals ได้เรียกว่าเกือบทุกด้านเลยทีเดียว ดังนั้น หากต้องการเพิ่มอันดับลองพิจารณาด้านนี้กันดู
ปรับลดสิ่งที่เกินจำเป็น
อย่างที่รู้กันว่า Core Web Vitals เป็นเรื่องของความเร็วนะ ดังนั้น น้องฮิปโป บอกเลยว่าสิ่งที่ถ่วงหรือไม่จำเป็นต้องคัดออกทั้งหมด อย่างเช่น รูปภาพที่ใหญ่เกินไป คลิปวิดีโอขนาดใหญ่ โค้ดหรือ Javascript ต่างๆ ที่ไม่จำเป็น ปลั๊กอินที่ไม่ได้ใช้งาน ตัวช่วยเกินจำเป็นพวกนี้หากตัดออกไปได้ก็จะช่วยทำให้หน้าเว็บไม่หนักและไม่ต้องโหลดนาน ทั้งยังสามารถทำเวลาได้ดี มีการตอบสนองเร็วขึ้นได้
ตรวจเช็คการออกแบบและใช้วิธีกำหนดพื้นที่อย่างชัดเจน
น้องฮิปโป ขอบอกว่า การที่เว็บไม่เสถียรมันเป็นเรื่องน่าหงุดหงิดอยู่บ้านสำหรับ User นะ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีทางป้องกันหรือแก้ไขเลยทีเดียว เพราะเราสามารถเริ่มจากการกำหนดส่วนพื้นที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ ปุ่มกด หรือตัวอักษร ว่าจะอยู่ตรงไหน มีพื้นที่ได้เท่าไหร่ จากนั้นก็ออกแบบให้สวยงาม เราก็จะได้หน้าเว็บที่สวยงามพร้อมกับการใช้งานที่ไม่เด้งไปมา มีความเสถียรมากขึ้น เท่านี้คะแนนของ Core Web Vitals ก็สามารถปรับให้ดีขึ้นได้
สรุปความสำคัญของการทำ Core Web Vitals
Core Web Vitals เป็นเรื่องที่ต้องใช้ทั้งเชิงเทคนิคและเชิงเนื้อหาเข้ามาประกอบรวมกันจึงจะสามารถสร้างคะแนนของ Core Web Vitals ที่ดีขึ้นมาได้
แต่ผลของการปรับเปลี่ยนนี้ไม่เพียงสามารถไต่อันดับการค้นหาหรืออันดับ SEO ให้มีผลที่ดีมากขึ้นยังช่วยเรื่องการใช้งานเว็บไซต์ให้ User ได้มีประสบการณ์การใช้งานที่ดี
เพิ่มยอดผู้เข้าใช้ได้ซึ่งนี่ก็คือผลที่ทุกคนต้องการมากที่สุด ยิ่งกับคนที่ทำ SEO แล้วส่วนนี้ย่อมเป็นส่วนที่มองข้ามหรือละเลยไปไม่ได้ เพราะกลุ่มที่ติดอันดับดีๆ ส่วนใหญ่ คะแนนประเมิน Core Web Vitals ไม่ได้แย่เลยนะ