Content Pillar
สายทำคอนเทนต์ต้องรู้! เพราะนี่คือหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญที่จะช่วยทำให้คุณไต่อันดับการทำ SEO ด้วยเทคนิคการทำคอนเทนต์อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นั่นคือ การทำ Content Pillar นั่นเอง
คราวก่อน AMPROSEO ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับประเภทการทำคอนเทนต์ที่เหมาะสำหรับการทำอันดับบน SERPs ไปแล้วอย่าง การทำ Evergreen Content คราวนี้เลยอยากจะหยิบเอาเทคนิคที่จะช่วยทำให้การทำคอนเทนต์ใน Keyword ย๊ากยากให้ติดอันดับได้ดีขึ้นด้วยการทำ Pillar Content ว่าแต่…เทคนิคนี้คืออะไร ทำยังไง ดีกับ SEO ขนาดไหน ตาม AMPROSEO ไปดูพร้อมๆ กันได้เลยนะ
Content Pillar คืออะไร
คอนเทนต์หลัก หรือที่เรียกกันว่า Content Pillar คือ การออกแบบคอนเทนต์ที่ครอบคลุมเนื้อหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วทำการเชื่อมโยงหน้านั้นกับหน้าย่อยๆ ที่เป็นเหมือนส่วนประกอบเล็กๆ ที่ทำให้หน้าคอนเทนต์หลักนั้นดูสมบูรณ์มากขึ้น โดยที่คอนเทนต์ย่อยๆ นั้นจะต้องมีเนื้อหาที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกันด้วย ลองนึกภาพตามง่ายๆ ก็คงเป็นเหมือนหนังสือเล่มหลักที่เราเรียน และมีหนังสือเล่มย่อยๆ เพิ่มเติม ยกตัวอย่างเช่น
คุณเรียนวิชาคณิตศาสตร์คุณมีหนังสือหลักที่เขียนถึงทั้งนิยามต่างๆ เกี่ยวกับคณิตศาสตร์, เนื้อหาสูตร เช่น ยกกำลัง, ตรีโกณมิติ, อนุกรม ฯลฯ ไปจนถึงขั้นตอนการทำ แน่นอนว่า หน้าเพจหนึ่งหน้าคงไม่สามารถเขียนบรรยายถึงเรื่องทั้งหมดอย่างละเอียดได้ เราจึงต้องทำลิงก์เชื่อมโยงไปหาหน้าย่อยๆ ที่ช่วยอธิบายเนื้อหาของวิชาคณิตศาสตร์ในเรื่องนั้นๆ อย่างลึกซึ้งขึ้น และหน้าเหล่านั้นก็ต้องทำการลิงก์เชื่อมโยงกลับมายังหน้า Content Pillar ด้วย
ลองดูที่ภาพอาจจะช่วยทำให้เข้าใจง่ายมากขึ้น 👇
- ตรงกลางนั่นคือ Hub page หรือ pillar content ที่เป็นประเด็นหลักของเรื่องนั้นๆ อย่างเช่น คณิตศาสตร์ ม.4
- Subpages หรือ Supporting content จะเป็นคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นหลัก (ประเด็นย่อย) อย่างเช่น สูตรคณิตศาสตร์ม.4, วิธีการคำนวณตรรกศาสตร์, ตัวอย่างโจทย์เลขยกกําลัง เป็นต้น
- ส่วนเส้นที่ขีดจะเป็น Hyperlinks ซึ่งจะทำการเชื่อมโยงกันระหว่างประเด็นหลักกับประเด็นย่อยไปกลับถึงกัน หรือที่เรียกกันว่าการทำ Internal Link
(อ่านวิธีการทำ Internal Link ที่ Internal Links คือไร ช่วยอะไรบ้างสำหรับโลก SEO อัปเดท 2023)
ความสำคัญของ Content Pillar ต่อเว็บไซต์อย่างไร
การทำ Content Pillar นั้นเป็นกลยุทธ์การทำคอนเทนต์ที่ส่งผลดีต่อเว็บไซต์ในหลายๆ ด้าน (ไม่ใช่แค่ในด้าน SEO ด้วยนะ) ลองดูว่าการทำ Content Pillar มีข้อดีต่อเว็บไซต์อย่างไร ดังนี้
- ช่วยจัดวางระเบียบการทำคอนเทนต์ให้เว็บไซต์
AMPROSEO เคยพูดถึงเรื่องของ Sitemap ไปแล้วว่าคือสิ่งที่บอทจะใช้ในการดูว่าเนื้อหาของเว็บไซต์สัมพันธ์กันอย่างไร เชื่อมโยงไปหน้าไหนบ้าง และรู้ด้วยว่า Keyword ไหนเกี่ยวข้องกันบ้าง ซึ่งการจะทำ Sitemap ให้เป็นระเบียบส่วนหนึ่งก็ต้องพึ่งพาการจัดวางคอนเทนต์ที่ดีด้วย และ Content Pillar นี่แหละที่จะช่วยในการวางแผนผังโครงการสร้างของเว็บไซต์ในด้านของการทำคอนเทนต์ได้เป็นอย่างดี
- ช่วงดึงดูดคนเข้าเว็บไซต์
เพราะ Content Pillar Page เป็นหน้าเว็บไซต์หนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเฉพาะและมีเนื้อหาที่พูดถึงเรื่องหนึ่งแบบครอบคลุมมากๆ เลยส่งผลให้ผู้คนชื่นชอบที่จะเข้ามาอ่านเนื้อหาในหน้านี้ อีกทั้ง ยังนับเป็นคอนเทนต์เรียกแขกที่ดึงเอาคนใหม่ๆ เข้ามาทำความรู้จักเว็บไซต์ของคุณได้มากขึ้น ซึ่งช่วยสร้าง Authority ให้กับเว็บไซต์จากความน่าเชื่อถือและความเชี่ยวชาญที่เขียน รวมถึงถ้าคอนเทนต์นั้นดีมากๆ ก็มีโอกาสที่คนจะนำไปอ้างอิงหรือแชร์ต่อจนทำให้ได้ Backlink ที่มีคุณภาพกลับมาอีกด้วย
- ช่วยทำให้เว็บไซต์ Performance ดีขึ้น
การที่เนื้อหามีการทำการเชื่อมโยงถึงกันเป็นทอดๆ ทำให้เกิดการอ่านบทความต่อเนื่อง การ Drop Off จากเว็บไซต์ก็มีน้อยลง และมีโอกาสที่กลุ่มเป้าหมายจะคลิกไปยังหน้าเซอร์วิสอื่นๆ ที่พวกเขาสนใจจากการอ่าน Content Pillar และคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องได้มากขึ้น ทำให้เว็บไซต์ Performance ในภาพรวมดีขึ้นได้นั่นเอง
- ช่วยสร้าง Conversion
คอนเทนต์เป็นหัวใจสำคัญในการทำการตลาดด้วยเว็บไซต์ ถ้าเขียนเนื้อหาดีและให้ประโยชน์กับผู้อ่านได้มากพอ รวมถึงมีการทำ User Journey บนเว็บไซต์ที่ดี เช่น การทำ Call-To-Action จนนำพากลุ่มคนที่เข้ามาใช้งานไปยังหน้าบริการอื่นๆ หรือทำ Action บนเว็บไซต์ เช่น ลงทะเบียน กรอกฟอร์ม ดาวน์โหลด E-Book, กด Add Line ฯลฯ ก็มีโอกาสที่จะทำให้เกิดการปิดการขายได้มากขึ้น
- ช่วยในการทำ SEO
และสุดท้ายคือการเป็นตัวช่วยหนึ่งในการทำ SEO จากการที่เชื่อมโยงเนื้อหาเข้าหากันทำให้เว็บไซต์ติดอันดับ SEO ได้ดีมากขึ้น
(แต่ก็ไม่ได้การันตีนะว่าทำ Content Pillar แล้วจะทำอันดับได้เร็วหรือติดอันดับใน Keyword ที่ต้องการ เพราะปัจจัยในการทำ SEO มีเยอะมากๆ คุณจะต้องทำ On-Page, Off-Page ไปจนถึงปรับปรุงด้าน Technical SEO ให้ดีพอด้วย รวมถึงต้องเข้าใจกฎต่างๆ ที่ Google ปล่อยออกมา เช่น E-A-T Factor, Core Web Vital ฯลฯ จึงจะช่วยทำให้เว็บไซต์ทำอันดับสูงๆ ได้อย่างที่ต้องการ)
รูปแบบการทำ Content Pillar
สำหรับรูปแบบการทำ Content Pillar ที่นิยมทำกันจะแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ คือ
- คอนเทนต์แบบให้ความรู้แบบ Basic
จะเป็นคอนเทนต์แนวรวบรวมองค์ความรู้พื้นฐาน อย่างการบอกนิยามว่าสิ่งนั้นคืออะไร โดยเน้นการตอบคำถามที่ผู้คนมักจะใช้ในการค้นหาแบบละเอียด เช่น คนจะถามหาเนื้อหา SEO เบื้องต้นว่าอะไร อย่างเช่น SEO คืออะไร, On-Page SEO คืออะไร, SEO Friendly URLs คืออะไร เป็นต้น เพื่อรวบรวมเป็นความรู้สำหรับมือใหม่ที่มีโอกาสจะเป็นกลุ่มลูกค้าของคุณได้ ซึ่งก็ต้องนำเสนอเนื้อหาในเชิงลึกต่อๆ ไปเพื่อให้คนอ่านเรียนรู้เนื้อหาจากเว็บไซต์เราได้เรื่อยๆ ด้วย
- คอนเทนต์แบบ How-To
จะเป็นการทำคอนเทนต์ที่รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับวิธีการทำ, ขั้นตอนการทำ, เทคนิคการทำอะไรบางอย่างในเชิงลึกเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยการออกแบบหน้า Content Pillar ประเภทนี้อาจจะเป็นเนื้อหาที่แบ่งออกเป็นบทๆ ที่กล่าวถึงขั้นตอนการทำแบบ Step-by-Step ที่สามารถทำตามได้จริง และเนื้อหาที่เขียนอาจจะไม่ใช่แค่การเขียนด้วยตัวหนังสือ แต่ใส่ได้ทั้งภาพและวิดีโอที่ช่วยทำให้เข้าใจขั้นตอนเหล่านั้นมากขึ้นด้วยก็จะดี
- การทำคอนเทนต์แนว Guideline
จะเป็นการทำคอนเทนต์ที่ดูคล้ายกับคอนเทนต์แนว How-to แต่ว่าไม่จำเป็นจะต้องลงรายละเอียดแบบ Step- by Step แต่เน้นเขียนเป็น Guideline ที่ทำให้เข้าใจภาพรวมและหยิบไปลองใช้งานต่อได้ ยกตัวอย่างเช่น
- การทำคอนเทนต์แนว Resource
การทำคอนเทนต์แนว Resource จะเป็นการให้ข้อมูลโดยได้ประโยชน์ทั้งในด้านการเพิ่ม Traffic ให้กับเว็บไซต์และในบางครั้งก็ช่วยทำให้ได้ Lead จากการที่ขอให้กลุ่มเป้าหมายกรอกข้อมูลเพื่อแลกกับองค์ความรู้หรือการใช้งาน Resource ที่คุณทำขึ้นมาก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น
เทคนิคในการทำ Content Pillar
มาถึงหัวข้อของการลงมือทำแล้ว AMPROSEO ได้ออกแบบมาให้เป็น Checklist ที่หยิบไป Follow ตามได้ง่ายๆ ดังนี้
- วาง SEO Stragey เพื่อทำ Keyword Research และกำหนดกลุ่มคำที่จะนำมาใช้ในการทำ Content Pillar
- กำหนดหัวข้อคอนเทนต์ เช่น อะไรเป็นหัวข้อหลักที่จะหยิบมาทำเป็น Content Pillar และอะไรจะเป็นประเด็นย่อยๆ ที่อยู่ในบทความที่จะทำมาเชื่อมโยงบ้าง โดยทุกบทความจะต้องมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกัน และไม่ใช่การเขียนซ้ำกันใน Keyword เดียวกัน
- เลือกรูปแบบของคอนเทนต์ที่จะทำว่าจะทำออกมาในแนวให้ความรู้พื้นฐาน, บอก How-to, ทำเป็น Guideline หรือจะทำเป็น Resource
- ทำการเขียน Outline ของบทความแต่ละตัว เพื่อทำให้เห็นว่าบทความไหนจะมีเนื้อหาอะไร และควรจะเขียนอะไรเพื่อให้เชื่อมโยงถึงกันได้บ้าง
- สร้างคอนเทนต์ที่เหมาะสมกับ Outline และรูปแบบของคอนเทนต์ที่เลือกเอาไว้ เช่น ถ้าเป็นแนวให้ความรู้พื้นฐาน, บอก How-to, ทำเป็น Guideline ก็อาจจะทำออกมาเป็นบทความ แต่ถ้าเป็น Resource ก็ควรจะเป็น Permium Content ที่แตกต่าง เช่น เป็นไฟล์ให้โหลด เป็นเครื่องมือให้ลองใช้งาน หรือเป็น E-Book ให้กดสมัครสมาชิกทางอีเมล เป็นต้น
- สร้าง Conversion Path ด้วยการแทรก CTA (Call-to-action) ที่ลิงก์แล้วสามารถไปยังหน้าที่ต้องการโดยตรง หรือจะให้กรอกฟอร์มเพิ่มเติมก็ได้
- ทำการเชื่อมโยงบทความทั้งหมดเข้าด้วยกันโดย คอนเทนต์ย่อยๆ จะต้องทำการเชื่อมหากัน ส่วน Content Pillar จะต้องเชื่อมไปยังคอนเทนต์ย่อยๆ และคอนเทนต์ย่อยๆ จะต้องเชื่อมกลับมายัง Content Pillar ด้วย ในลักษณะตามภาพ
และนี่คือเทคนิคในการทำ Content Pillar จะเห็นว่าไม่ได้ทำยาก แต่จะเน้นการวางแผนที่เป็นระเบียบและทำให้บทความทั้งหมดเชื่อมโยงถึงกันอย่างเป็นแบบแผน รวมถึงต้องทำให้ครอบคลุมการทำ SEO ด้วย ซึ่งจุดนี้อาจจะต้องอาศัยความเข้าใจในการทำ SEarch Engine Optimization เข้ามาเป็นส่วนเสริมด้วย
สรุปประโยชน์ของการทำ Content Pillar
สรุปแล้วการทำ Content Pillar คือ ตัวช่วยการทำคอนเทนต์รูปแบบหนึ่งที่ดีต่อทั้งเว็บไซต์ ผู้อ่าน รวมไปถึงการทำ SEO เพราะเป็นเทคนิคการจัดระเบียบเนื้อหาบนเว็บไซต์ให้เชื่อมโยงถึงกัน โดยมีหน้าเพจหนึ่งทำหน้าที่เป็นเหมือนคอนเทนต์ใหญ่ที่มีเนื้อหาครอบคลุมในหลายๆ เรื่อง ทำให้เก็บ Keyword ที่ทำติดได้ยากได้ดีขึ้น และในฝั่งของ User เองก็ได้ประโยชน์จากการอ่านเนื้อหาแบบเน้นๆ จนเกิดทั้งการแชร์ต่อ การคลิกอ่านเนื้อหาอื่นๆ บนเว็บไซต์ต่อ ไปจนถึงการเกิด Conversion ที่คนทำเว็บไซต์ต้องการ
ดีขนาดนี้ก็อย่าลืมหยิบเทคนิคการทำ Content Pillar ที่ AMPROSEO นำเสนอเอาไว้ไปลองทำตามกันดูนะ รับรองว่าไม่ยาก แล้วเจอกันในบทความหน้านะ วันนี้ขอตัวไปก่อนแล้ว